1.2 อัลกุรอาน อัลหะดีษ และเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

1.2.1 1. อัลกุรอาน
จากการศึกษาคัมภีร์อัลกุรอานที่เกี่ยวข้องกับความศรัทธา และการประกอบพิธีกรรมต่างๆ พบว่าในคัมภีร์อัลกุรอาน อัลลอฮ์อัลลอฮฺ I ได้ตรัสถึงเรื่องความศรัทธาไว้เป็นหลักสำคัญและละเอียดอ่อนยิ่ง คัมภีร์อัลกุรอานยังได้ยืนยันถึงการศรัทธาในอิสลามว่าเป็นรากฐานสำคัญของการประพฤติปฏิบัติและความดีงามทั้งมวล อัลลอฮ์อัลลอฮฺ I ได้ตรัสไว้ในอัลกุรอานมากมายหลายอายะฮฺ ถึงบรรดาผู้ศรัทธาควบคู่ไปกับการปฏิบัติอะมัลซอลิฮฺ ซึ่งเป็นการชี้ให้เห็นว่า อัลลอฮ์ ให้ความสำคัญกับการศรัทธาพร้อมทั้งการประพฤติปฏิบัติ กล่าวคือ เมื่อคนหนึ่งคนใดศรัทธาต่ออัลลอฮ์อัลลอฮฺ I เพียงอย่างเดียว แต่การปฏิบัติของเขาสวนทางกับสิ่งที่เขาศรัทธา โดยการที่เขาปฏิบัติไม่ดี การงานของเขาก็จะไม่ถูกตอบรับ และหากคนใดไม่ศรัทธาต่ออัลลอฮ์อัลลอฮฺแต่เขาปฏิบัติคุณงามความดี การงานต่างๆ ของเขาก็ย่อมไร้ผลไม่เป็นที่ยอมรับของอัลลอฮ์อัลลอฮฺ I และที่สำคัญ การจะประกอบศาสนกิจใดๆก็ตาม ต้องเป็นไปตามคำสั่งใช้ของอัลลอฮ์อัลลอฮฺ I และมีแบบอย่างจากท่านเราะสูล นบีนบีมุฮัมมัด r การกระทำนั้นจึงจะเป็นคุณงามความดี ดังปรากฏในโองการอายะฮฺต่าง ๆ ดังนี้
1.2.1.1 ความศรัทธาเป็นรากฐานของอิสลามและสิ่งที่ดีงามทั้งมวล

อัลลอฮ์อัลลอฮฺ I ตรัสว่า

(سورة الحجرات بعض من الآية : 15)

ความว่า “แท้จริงศรัทธาชนที่แท้จริงนั้น คือบรรดาผู้ศรัทธาต่ออัลลอฮฺและเราะสูลของพระองค์ แล้วพวกเขาไม่สงสัยเคลือบแคลงใจ แต่พวกเขาได้เสียสละต่อสู้ดิ้นรนด้วยทรัพย์สมบัติของพวกเขา และชีวิตของพวกเขาไปในหนทางของอัลลอฮ์อัลลอฮฺ...”
(อัลหุจญรอตสวนหนึ่งจากอายะฮฺที่ 15 : 15สูเราะฮฺอัลหุจญรอต)

ผู้ศรัทธาที่มีความศรัทธาอย่างแท้จริง โดยเขามีความศรัทธาต่ออัลลอฮฺ I และท่านนบีมุฮัมมัด r ชนเหล่านี้จะมีความบริสุทธิ์ใจในความเชื่อของเขา และยืนหยัดในความเชื่อของตนเองด้วยการกระทำต่างๆที่เป็นไปในหนทางของอัลลอฮฺเป็นแนวทางของอิสลามที่แท้จริง ตามที่อัลลอฮฺ I พระองค์ทรงสั่งใช้และมีแบบอย่างจากท่านนบีมุฮัมมัด r
อัลลอฮ์อัลลอฮฺ I ตรัสว่า :

(سورة الكهف الآية : 30)

ความว่า “แท้จริงบรรดาผู้ศรัทธาและกระทำความดีทั้งหลาย เราจะไม่ให้การตอบแทนของผู้กระทำความดีสูญหายอย่างแน่นอน”
(สูเราะฮฺอัลกะฮฟฺ อายะฮฺที่: 30)
ผู้ที่มีความศรัทธาอย่างแท้จริงพร้อมกับการประกอบคุณงามความดี ซึ่งได้แก่การประกอบพิธีกรรมต่างๆที่มีอยู่ในบทบัญญัติของอิสลามตามแบบฉบับของท่านนบีมุฮัมมัด r แน่นอนว่าการกระทำของเขาจะได้รับผลตอบแทนจากอัลลอฮฺ I อย่างสมบูรณ์

อัลลอฮ์อัลลอฮฺ I ตรัสว่า

(سورة فصلت الآية : 8)

ความว่า “แท้จริง บรรดาผู้ศรัทธาและกระทำความดีทั้งหลาย สำหรับพวกเขานั้นจะได้รับรางวัลอย่างมิขาดสาย”
(สูเราะฮฺฟุศศิลัต อายะฮฺที่: 8)
ผู้ที่มีความศรัทธาอย่างแท้จริงพร้อมกับประกอบคุณงามความดี ซึ่งได้แก่การประกอบพิธีกรรมต่างๆที่มีอยู่ในบทบัญญัติของอิสลามตามแบบฉบับของท่านนบีมุฮัมมัด r แน่นอนว่าการกระทำของเขาจะได้รับผลตอบแทนจากอัลลอฮฺ I ตลอดกาล ตราบใดที่เขายังไม่เป็นผู้ที่ฝ่าฝืนต่อพระองค์



อัลลอฮ์อัลลอฮฺ I ตรัสว่า

(سورة المائدة بعض من الآية : 5)

ความว่า “...และผู้ใดปฏิเสธการศรัทธาแน่นอนงานของเขาก็ไร้ผล ขณะเดียวกันในวันอาคิเราะฮฺพวกเขาจะอยู่ในหมู่ผู้ที่ขาดทุน”
(อัลมาอิดะฮฺ ส่วนหนึ่งจากอายะฮฺที่ 5 สูเราะฮฺ: 5 อัลมาอิดะฮฺ)
ผู้ที่ประกอบพิธีกรรมต่างๆในสภาพความเชื่อของพวกเขาไม่ถูกต้อง การงานของเขาก็จะไม่ได้รับผลตอบแทน โดยเขาจะได้เห็นภาพจริงในวันอาคิเราะฮฺ ว่าการกระทำของเขานั้นไม่มีผลอันใดเลย


อัลลอฮ์อัลลอฮฺ I ตรัสว่า

(سورة الأحزاب بعض من الآية : 19)

ความว่า “...ชนเหล่านั้นพวกเขามิได้ศรัทธาอัลลอฮ์อัลลอฮฺจึงทรงให้การงานของพวกเขาไม่บังเกิดผล และนั่นเป็นเรื่องง่ายดายแก่พระองค์”
(ส่วนหนึ่งจากอายะฮฺที่ อัลอะหฺซาบ19 สูเราะฮฺ: 19อัลอะหฺซาบ)
ถ้าหากว่ากลุ่มชนใดมีความเชื่อที่ไม่ถูกต้อง ก็มิใช่เรื่องยากอันใดที่อัลลอฮฺ I จะปฏิเสธการตอบแทนจากการงานของเขา

1.2.1.2 อัลลอฮฺ I ทรงกล่าวถึงผู้ที่ยึดแนวทางในการปฏิบัติตามบรรพบุรุษ โดยที่พวกเขาไม่ยอมรับสัจธรรมที่มาหลังจากนั้น
อัลลอฮฺ I ตรัสว่า


(البقرة : 170)
ความว่า “และเมื่อได้ถูกกล่าวแก่พวกเขาว่า จงปฏิบัติตามสิ่งที่อัลลอฮฺได้ทรงประทานลงมาเถิด พวกเขาก็กล่าวว่า มิได้ดอก เราจะปฏิบัติตามสิ่งที่เราได้พบบรรดาบรรพบุรุษของเราเคยปฏิบัติมาเท่านั้น และแม้ได้ปรากฏว่าบรรพบุรุษของเขาไม่เข้าใจสิ่งใดเลย ทั้งไม่ได้รับการนำทางอีกก็ตาม”
(อัลบะเกาะเราะฮฺ : 170)
เมื่อมีการชักชวนให้มาสู่หนทางที่ถูกต้อง พวกเขาก็จะปฏิเสธพร้อมกับอ้างว่าเขาจะปฏิบัติตามที่ได้เห็นบรรพบุรุษปฏิบัติมาเท่านั้น ทั้งที่จริงแล้วบรรพบุรุษของเขานั้นมิได้เข้าใจและไม่ได้อยู่ในทางนำก็ตาม
อัลลอฮฺ I ตรัสว่า
(المائدة : 104)
ความว่า “และเมื่อได้ถูกกล่าวแก่พวกเขาว่า ท่านทั้งหลายจงมาสู่สิ่งที่อัลลอฮฺ ได้ทรงประทานลงมาเถิด และมาสู่เราะสูลด้วย พวกเขาก็กล่าวว่า เป็นการเพียงพอแล้วแก่เรากับสิ่งที่เราได้พบบรรพบุรุษของเราเคยกระทำกันมา ถึงแม้ได้ปรากฎว่าบรรพบุรุษของพวกเขาไม่เข้าใจสิ่งใดและทั้งไม่ได้รับคำแนะนำอีกด้วยกระนั้นหรือ”
(อัลมาอิดะฮฺ : 104)
เมื่อมีการชักชวนให้มาสู่หนทางที่ถูกต้องซึ่งเป็นหนทางแห่งอัลลอฮฺ I และเราะสูล r ของพระองค์ พวกเขาก็จะปฏิเสธพร้อมกับกล่าวว่าสิ่งที่บรรพบุรุษได้ปฏิบัติมานั้นเป็นการเพียงพอแล้วสำหรับเขาที่เขาจะยึดมาปฏิบัติ
อัลลอฮฺ I ตรัสว่า
(الأعراف : 28)
ความว่า “และเมื่อพวกเขากระทำสิ่งชั่วช้าน่ารังเกียจ พวกเขาก็กล่าวว่าพวกเราได้พบเห็นบรรดาบรรพบุรุษของพวกเราเคยกระทำมา และอัลลอฮฺก็ทรงใช้ให้พวกเรากระทำมันด้วย จงกล่าวเถิด(มุฮัมมัด) ว่าแท้จริงอัลลอฮฺนั้นไม่ทรงใช้ให้กระทำสิ่งชั่วช้าน่ารังเกียจดอก พวกเจ้าจะกล่าวให้ร้ายอัลลอฮฺในสิ่งที่พวกเจ้าไม่รู้กระนั้นหรือ”
(อัลอะอฺรอฟ : 28)
เมื่อพวกเขากระทำสิ่งที่ชั่วช้าน่ารังเกียจ พวกเขาก็จะเสกสรรการกระทำขึ้นมาด้วยการอ้างว่าเป็นการกระทำของบรรพบุรุษ และยังอ้างว่าเป็นคำสั่งของอัลลอฮฺ I อีกด้วย แต่ที่จริงแล้วอัลลอฮฺ I มิได้ทรงสั่งใช้ให้กระทำเลย แต่เป็นการที่พวกเขาได้ให้ร้ายแด่อัลลอฮฺ I เท่านั้นเอง
อัลลอฮฺ I ตรัสว่า
(لقمان : 21)
ความว่า “และเมื่อได้มีการกล่าวแก่พวกเขาว่าจงปฏิบัติตามสิ่งที่อัลลอฮฺได้ทรงประทานลงมา พวกเขากล่าวว่า แต่เราจะปฏิบัติตามสิ่งที่เราพบบรรพบุรุษของเราปฏิบัติในเรื่องนั้น อะไรกัน ถึงแม้ว่าชัยฏอนจะเรียกร้องพวกเขาสู่การลงโทษที่มีไฟลุกโชนอยู่กระนั้นหรือ”
(ลุกมาน : 21)
เมื่อมีการชักชวนให้มาสู่หนทางที่ถูกต้อง พวกเขาก็จะอ้างถึงว่าได้ปฏิบัติตามสิ่งที่บรรพบุรุษปฏิบัติกันมา ถึงแม้ว่าการกระทำนั้นจะเป็นการเรียกร้องจากชัยฏอนสู่ไฟนรกก็ตาม
1.2.1.2 3 อัลกุรอาน อัลลอฮ์อัลลอฮฺ I ทรงกล่าวไว้ในเรื่องของความสมบูรณ์ของศาสนา และห้ามการอุตริกรรมบัญญัติเรื่องใหม่ๆขึ้นมาในศาสนา
อัลลอฮ์อัลลอฮฺ I ตรัสว่า
(سورة المائدة بعض من الآية : 3)
ความว่า “...วันนี้ข้าได้ให้สมบูรณ์แก่พวกเจ้าแล้ว ซึ่งศาสนาของพวกเจ้า และข้าได้ให้ครบถ้วนแก่พวกเจ้าแล้ว ซึ่งความกรุณาเมตตาของข้า และข้าได้เลือกอิสลามให้เป็นศาสนาแก่พวกเจ้า...”
(ส่วนหนึ่งจากอายะฮฺที่ 3 อัลมาอิดะฮฺ สูเราะฮฺ: 3อัลมาอิดะฮฺ)
อัลลอฮฺ I ทรงยืนยันถึงความสมบูรณ์ของศาสนาอิสลามที่ท่านนบีมุฮัมมัด r ได้มาประกาศชั่วชีวิตของท่าน ซึ่งไม่สมควรที่จะเพิ่มเติมสิ่งใดที่อุตริกรรมเกินไปกว่าการนำมาประกาศของท่านนบีมุฮัมมัด r ในเรื่องของศาสนา เพื่อยืนยันถึงความสมบูรณ์ของศาสนาอิสลามตามคำตรัสดำรัสของอัลลอฮฺ I

อัลลอฮ์อัลลอฮฺ I ตรัสว่า
(سورة الشورى الآية : 21)

ความว่า “หรือว่าพวกเขามีภาคีต่างๆที่ได้กำหนดศาสนาแก่พวกเขา ซึ่งอัลลอฮ์อัลลอฮฺมิได้ทรงอนุมัติ และหากมิใช่ลิขิตแห่งการตัดสิน(ที่ได้กำหนดไว้ก่อนแล้ว) ก็คงได้มีการตัดสินในระหว่างพวกเขา แท้จริงบรรดาผู้อธรรมสำหรับพวกเขาได้รับการลงโทษอันเจ็บแสบ”
(อายะฮฺที่ 21 อัชชูรอ สูเราะฮฺ: 21อัชชูรอ)
อัลลอฮฺ I มิทรงพอใจในการมีส่วนร่วมของผู้ใด ที่จะมากำหนดพิธีกรรมใหม่ๆ ขึ้นมาในศาสนาของพระองค์ โดยที่พระองค์มิได้ทรงสั่งใช้ในการกระทำนั้นๆ ซึ่งเขาผู้นั้นจะได้รับการลงโทษอย่างเจ็บแสบในวันอาคิเราะฮฺ
1.2.


2. อัลหะดีษ

จากการศึกษาอัลหะดีษที่เกี่ยวเนื่องกับความเชื่อความศรัทธา และประเพณีต่างๆ พบว่ามีอัลหะดีษจำนวนมากที่กล่าวถึงหลักความเชื่อและความศรัทธาซึ่งสนับสนุนหลักการและแนวคิดที่ปรากฏในคัมภีร์อัลกุรอาน และยังได้อธิบายขยายความบางโองการอายะฮฺอัลกุรอานให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น หนังสือหรือตำราหะดีษที่แพร่หลายส่วนมากได้รวบรวมหะดีษที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อความศรัทธาไว้เป็นบทหนึ่งเลย เช่น เศาะอเหี้ยะห์หี้หฺบุคอรีย์ ศอเหี้ยะห์เศาะหี้หฺมุสลิม สุนันอัตติรมีซีย์ สุนันนะสาอีย์ หนังสือเหล่านี้ได้รวบรวมไว้เป็นบทหนึ่ง โดยตั้งชื่อว่า “กิตาบุ้ลอีมาน”
หะดีษที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อความศรัทธามิได้จำกัดอยู่ในบทที่เกี่ยวกับความศรัทธาเท่านั้น แต่ว่ายังปรากฏอยู่ในบทอื่นๆ ด้วยเกือบทุกบท เช่น ในศอเหี้ยะห์เศาะหี้หฺบุคอรีย์ ปรากฏอยู่ในกิตาบุศศอลาฮฺ (บทที่ว่าด้วยเรื่องการละหมาด) กิตาบุ้ลฮัจญ์ (บทที่ว่าด้วยการทำฮัจญ์) ในสุนันนะสาอีย์ ปรากฏในกิตาบุลญะนาอิซ (บทที่ว่าด้วยการทำศพ) กิตาบุลฟิตัน (บทที่ว่าด้วยความวิกฤติการณ์) เป็นต้น ทั้งนี้เนื่องจากว่าหะดีษที่เกี่ยวกับความเชื่อความศรัทธามักพูดถึงเรื่องอื่นควบคู่ไปด้วยเสมอ เช่น การละหมาด การถือศีลอด การทำฮัจญ์ เป็นต้น
การที่มีหะดีษที่เกี่ยวกับความเชื่อความศรัทธาปรากฏอยู่ทั่วไปไม่จำกัดอยู่เฉพาะใน “กิตาบุลอีมาน” ก็ดี หรือการที่หะดีษกล่าวถึงเรื่องอีมานควบคู่ไปกับเรื่องอื่นในหะดีษบทเดียวกันก็ดี ย่อมแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของความศรัทธาและพฤติกรรมในทุก ๆ ด้านของมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการประกอบคุณงามความดีจำเป็นจะต้องอยู่บนพื้นฐานของความศรัทธา ดังปรากฏใน หะดีษของท่านเราะสูล นบีนบีมุฮัมมัด r มากมาย ดังต่อไปนี้

1.2.2.1 ความเชื่อความศรัทธาเป็นรากฐานของอิสลามและพฤติกรรมที่ดีงามทั้งปวงของมนุษย์ ท่านเราะสูล นบีนบีมุฮัมมัด r กล่าวว่า

((بني الإسلام على خمس شهادة أن لا إله إلا الله وأن محمدا عبده ورسوله وإقام الصلاة وإيتاء الزكاة وحج البيت وصوم رمضان))
(البخاري، 1987 : 8)


ความว่า “อิสลามถูกก่อตั้งอยู่บนพื้นฐานห้าประการ คือ (1) การปฏิญาณตนว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดที่เที่ยงแท้นอกจากอัลลอฮ์อัลลอฮฺ และแท้จริงมุฮัมหมัดเป็นบ่าวและเป็นเราะสูล นบีนบีมุฮัมมัด (ศาสนฑูต) ของพระองค์ และ (2) ดำรงไว้ซึ่งการละหมาด และ (3) การบริจาคซะกาต และ (4) การประกอบพิธีฮัจญ์ ณ. บัยตุ้ลลอฮฺ และ (5) การถือศีลอดในเดือนรอมฎอน”
(al-Bukhary, 1987 : 8)
อิสลามมีพื้นฐานในการประกอบคุณงามความดีอยู่ 5 ประการโดยประการสำคัญประการแรกคือการที่ต้องมีความเชื่อที่ถูกต้อง แสดงให้เห็นว่าอิสลามให้ความสำคัญกับความเชื่อมาก เหนือการกระทำอื่นใด







ท่านเราะสูล นบีนบีมุฮัมมัด r กล่าวว่า :
((عجبا لأمر المؤمن . إن أمره كله خير . وليس ذاك لأحد إلا للمؤمن.إن أصابته سراء شكر . فكان خيرا له . وإن أصابته ضراء صبر . فكان خيراعجبت لأمر المؤمنين إن أمره كله خير إن أصابه ما يحب حمد الله وكان له خير وإن أَصابه ما يكره فصبر كان له خير وليس كل أحد أمره كله له خير إلا المؤمن))< (مسلم، 1972 : 2999) ความว่า “ฉันรู้สึกน่าปประทับใจอย่างยิ่งต่อกรณีของผู้ศรัทธาที่การงานทั้งหมดของเขาล้วนเป็นความดี และจะไม่เกิดขึ้นกับผู้อื่น นอกจากผู้ศรัทธา (กล่าวคือ) ถ้าหากมีสิ่งที่เขาปรารถนามาประสบกับเขา เขาก็สรรเสริญอัลลอฮ์อัลลอฮฺและความดีก็เป็นของเขา และถ้าหากมีสิ่งที่เขาไม่ปรารถนามาประสบกับเขา เขาก็อดทนความดีก็เป็นของเขาและใช่ว่าการงานทั้งหมดของทุกคนจะเป็นความดีสำหรับเขา นอกจากผู้ศรัทธา” (Muslim, 1972 : 2999) การกระทำของผู้ใดๆ ที่จะได้รับการตอบแทนจากอัลลอฮฺ I นั้นต้องมีเงื่อนไขหลักคือการที่ต้องมีความศรัทธาและมีความเชื่อที่ถูกต้อง ท่านเราะสูล นบีนบีมุฮัมมัด r กล่าวว่า ((لا يدخل النار أحد في قلبه مثقال حبة خردل من إيمان...ولا يدخل النار من كان في قلبه مثقال خردل من إيمان الحديث)) (مسلم، 1986 : 91) ความว่า “...และจะไม่ได้เข้านรกสำหรับผู้ที่หัวใจของเขามีความศรัทธาเพียงเท่าเมล็ดผักกาด” (Muslim, 1986 : 91) ผู้ใดที่มีความศรัทธาและความเชื่อที่ถูกต้องในหัวใจของเขาแล้ว เขาก็จะถูกปกป้องให้พ้นจากไฟนรก ท่านเราะสูล นบีนบีมุฮัมมัด r ได้กล่าวตอบคำถามของท่านหญิงอาอีชะฮฺเกี่ยวกับคุณงามความดีของอิบนุ ญุดอานซึ่งเป็นผู้ไร้ศรัทธาในยุคญาฮีลียะฮฺว่า ((...يا رسول الله ! ابن جدعان . كان في الجاهلية يصل الرحم ويطعم المسكين فهل ذاك نافعه ؟ قال " لا ينفعه إنه لم يقل يوما : رب اغفر لي خطيئتي يوم الدين"لا ينفعه إنه لم يقل يوما رب اغفر لي خطيئتي يوم الدين))[5]
(مسلم، 1972 : 214)

ความว่า “...(การกระทำดังกล่าวนั้น (คือการโอ้เราะสูล! ติอิบนุ ญุดอานได้ติดดต่อสัมพันธ์เครือญาติและให้อาหารแก่คนขัดสนในยุคก่อนอิสลาม (ญาฮีลียะฮฺ)) จะไม่ยังประโยชน์อันใดแก่เขาหรือ? (อิบนุ ญุดอาน)ท่านเราะสูลตอบว่า “จะไม่ยังประโยชน์แก่เขา ใดๆทั้งสิ้น แท้จริงเขาไม่เคยกล่าวในวันใดเลยว่า โอ้พระผู้ทรงอภิบาลของข้าพระองค์ โปรดอภัยในความผิดแก่ข้าพระองค์ในวันแห่งการตอบแทนด้วยเถิด”
(Muslim, 1972 : 214)
จะเห็นได้ว่าถึงแม้ว่าจะกระทำความดีมากมายเพียงใด แต่ถ้าขาดความศรัทธาและความเชื่อที่ถูกต้องแล้วการงานของเขาก็จะไม่ได้รับผลตอบแทนอันใด

1.2.2.2 ท่านเราะสูล นบีนบีมุฮัมมัด r ได้กล่าวไว้ถึงการปฏิบัติสิ่งใหม่ๆขึ้นมาในศาสนา โดยที่ไม่มีแบบอย่างจากท่าน ได้แก่








ท่านเราะสูล นบีนบีมุฮัมมัด r กล่าวว่า
((وإياكم ومحدثات الأمور ؛ فإن كل محدثة بدعة ، وكل بدعة ضلالة))[6]
(أبو داود، 1986 : 4607)
ความว่า “ท่านทั้งหลายจงระวังการงานใหม่ๆ(ที่เกิดขึ้นในศาสนา) เพราะแท้จริงทุกๆ การงานใหม่ๆ นั้นคือบิดอฺะฮฺ และทุกๆ บิดอฺะฮฺนั้นคือการหลงผิด”
(Abu Dawud, 1986 : 4607)
ท่านนบีมุฮัมมัด r ได้เตือนให้ระวังจากการกระทำสิ่งใหม่ๆในเรื่องศาสนาที่ไม่มีแบบอย่างจากท่าน เนื่องจากการกระทำดังกล่าวนั้นเป็นการหลงผิดอย่างชัดเจน

ท่านนบีมุฮัมมัด r กล่าวว่า
((إن أصدق الحديث كتاب الله ، وأحسن الهدي هدي محمد ، وشر الأمور محدثاتها ، وكل محدثة بدعة وكل بدعة ضلالة وكل ضلالة في النار))[7]
(النسائي، 1964 : 3/188)
ความว่า “แท้จริงคำพูดที่ดีที่สุดนั้นคือคัมภีร์ของอัลลอฮฺ แบบอย่างที่ดีที่สุดนั้นคือแบบอย่างของมุฮัมมัด r การงานที่ต่ำทรามที่สุดนั้นคือการงานที่เกิดขึ้นใหม่ ทุกๆ สิ่งใหม่นั้นคือบิดอฺะฮฺ ทุกๆ บิดอฺะฮฺนั้นคือการหลงผิด และทุกๆ การหลงผิดนั้นจะอยู่ในนรก”
(al-Nasa’i, 1964 : 3/188)
ผู้ที่มีความเชื่อถูกต้อง จะปฏิบัติตามคำสั่งใช้ของอัลลอฮฺ I และดูแบบอย่างจากท่านนบีมุฮัมมัด r เท่านั้น กอปรกับการที่เขานั้นจะหลีกเลี่ยงจากการงานที่ไม่ถูกต้อง กล่าวคือการงานที่เกิดขึ้นใหม่ในศาสนาโดยไม่มีแบบอย่างจากท่านนบี r
1.2.นบี 2.3 ท่านเราะสูล นบีนบีมุฮัมมัด r ได้กล่าวไว้ถึงการปฏิเสธการงานของผู้ที่ทำบิดอฺะฮฺ หรือการงานใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นในศาสนา
ท่านนบีมุฮัมมัด r กล่าวว่า
((من أحدث في أمرنا هذا ما ليس منه فهو رد))[8]
(مسلم، 1972 : 1718)
ความว่า “ผู้ใดกุเรื่องใหม่ๆซึ่งไม่ได้อยู่ในกิจการของเรา กิจการนั้นก็ถูกโยนกลับ”
(Muslim, 1972 : 1718)
ท่านนบีมุฮัมมัด r กล่าวว่า
((من عمل عملاً ليس عليه أمرنا فهو رد))[9]
(مسلم، 1972 : 1718)
ความว่า “บุคคลใดที่ทำการงานใดๆ โดยไม่มีแบบอย่างจากเราในงานนั้น สิ่งนั้นจะถูกโยนกลับ”
(Muslim, 1972 : 1718)

นบี นบี

ท่านเราะสูล r กล่าวว่า

((من أحدث في أمرنا هذا ما ليس فيه فهو رد))[10]

ความว่า “ผู้ใดคิดเรื่องใดขึ้นใหม่ซึ่งไม่ได้อยู่ในกิจการของเรา กิจการนั้นก็ถูกกลับ”


ท่านเราะสูล นบี r กล่าวว่า

((أبى الله أن يقبل عمل صاحب بدعة حتى يدع بدعته))[11]

ความว่า “อัลลอฮ์ทรงปฏิเสธที่จะรับการงานของพวกอุตริกรรม(สิ่งใหม่ๆในศาสนา)จนกว่าเขาจะละทิ้งสิ่งอุตริกรรมของเขา”
ถ้าผู้ใดที่ทำสิ่งใหม่ขึ้นมาในเรื่องศาสนา โดยไม่มีแบบอย่างจากท่านนบีมุฮัมมัดr สิ่งนั้นจะไม่ได้รับการตอบแทนใดๆ ทั้งสิ้นจากอัลลอฮฺ I


1.2.

3. เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

1.2.3.1 เอกสาร

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (2533) ได้เขียนเอกสารประกอบการสอนชุดวิชาความเชื่อและศาสนาในสังคมไทย ได้กล่าวถึงความเชื่อ และศาสนาที่มีอยู่ในสังคมไทย ความเชื่อและประเพณีในวิถีชีวิตชุมชน ความเชื่อ พิธีกรรมของชาวเขาในประเทศไทย ไสยศาสตร์ในสังคมไทย การให้ความสำคัญกับฤกษ์ยาม โหราศาสตร์ และความเชื่อ พิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับอำนาจเหนือธรรมชาติ เป็นต้น

ประพนธ์ เรืองณรงค์ (2540) ได้เขียนหนังสือเรื่องสมบัติไทยมุสลิมภาคใต้ การศึกษาคติชาวบ้านไทยมุสลิมจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ได้กล่าวเกี่ยวกับประเพณีต่าง ๆ ของชาวมุสลิมบางอย่างเป็นไปตามหลักการศาสนา และบางอย่างอาจได้รับอิทธิพลจากศาสนาพราหมณ์หรือศาสนาพุทธ ชาวบ้านในท้องถิ่นนั้นๆ ยังยึดถือปฏิบัติสืบเป็นประเพณี ประเพณีของชาวไทยมุสลิมภาคใต้ที่มีความเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน

พระยาอนุมานราชธน (2505) ได้เขียนหนังสือเรื่องประเพณีเนื่องในการเกิดและประเพณีเนื่องในการตาย ได้กล่าวถึงประเพณีต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับชีวิตประจำวันของชาวพุทธศาสนา เช่น การตั้งครรภ์ เมื่อคลอดบุตร การอยู่ไฟ ความเชื่อเรื่องเกี่ยวกับเด็กในเรื่องแม่ซื้อ ทำขวัญและทำบุญโกนผมไฟ การเผาศพ เป็นต้น ประเพณีต่างๆ ที่กล่าวมาแล้วข้างต้น บางส่วนคล้ายคลึงกับการปฏิบัติของชาวมุสลิมทั้ง ๆ ที่ศาสนาอิสลามนั้นไม่ปรากฏอยู่ในหลักคำสอน

เสาวนีย์ จิตต์หมวด (2535) ศึกษาเรื่อง วัฒนธรรมอิสลาม ได้กล่าวถึงวัฒนธรรมและประเพณีต่างๆ ที่ปรากฏในสังคมมุสลิมในประเทศไทย ซึ่งวัฒนธรรมและประเพณีบางอย่างตั้งอยู่บนพื้นฐานของศาสนา และบางอย่างได้นำเอามาจากศาสนาอื่นๆ เช่น ศาสนาพุทธ และพราหมณ์ เป็นการเลียนแบบทางวัฒนธรรมซึ่งในอิสลามถือว่าการเลียนแบบในสิ่งที่ขัดต่อหลักการของศาสนานั้นจะปฏิบัติมิได้เป็นอันขาด จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะละทิ้งประเพณีต่างๆ ที่ขัดกับหลักการของศาสนาอิสลามถึงแม้ว่ามันจะเป็นการสวนกระแสของสังคมก็ตาม




1.2.3.2 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

เชาวน์ฤทธิ์ เรืองปราชญ์ (2547) ได้ทำวิจัยเรื่อง “ความเชื่อและประเพณี ฉวีวรรณ วรรณประเสริฐ และคณะ. (2524) ได้ทำการวิจัยเรื่องประเพณีที่ช่วยส่งเสริมการผสมผสานทางสังคมระหว่างชาวไทยพุทธกับชาวไทยมุสลิม ได้กล่าวถึงประเพณีการทำบุญของชาวมุสลิมใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือปัตตานี ยะลา นราธิวาส บางส่วนตั้งอยู่บนพื้นฐานของศาสนาอิสลาม และบางส่วนได้รับอิทธิพลจากศาสนาพราหมณ์และพุทธ อันเนื่องมาจากก่อนที่อิสลามจะเข้ามาในดินแดนส่วนนี้ บุคคลที่อาศัยอยู่ในที่นี้นับถือศาสนาพราหมณ์และพุทธ เมื่ออิสลามเข้ามาเผยแพร่ผู้คนก็เปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลาม ความเชื่อพฤติกรรมดั้งเดิมบางส่วนยังคงไม่หมดไป แต่มีการผสมผสานระหว่างศาสนาเดิมกับศาสนาอิสลาม เช่น การทำบุญ 3 วัน 7 วัน 10 วัน 40 วัน 100 วัน ให้กับผู้ตาย การเชื่อในเรื่องโหราศาสตร์โดยการตรวจดวงชะตา การถือฤกษ์ ยามเพื่อใช้ในการปฏิบัติต่าง ๆ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นพฤติกรรมที่ได้รับอิทธิพลจากศาสนาพราหมณ์และพุทธ ในการทำบุญของชาวมุสลิมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา” พบว่า ความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับการทำบุญในบางประเภทมีบางส่วนมีความเชื่อที่ขัดแย้งกับหลักการอิสลาม และบางส่วนที่ถูกต้อง และในการทำบุญก็เช่นเดียวกัน การทำบุญบางชนิดถูกต้องตามบทบัญญัติ และบางชนิดไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติของอิสลาม

นิรันดร์ ขันธวิธิ (2542)ได้ทำวิจัยเรื่อง “ความเชื่อ และการปฏิบัติทางศาสนาของชาวมุสลิมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบลักษณะแนวความเชื่อและการปฏิบัติทางศาสนาของชาวมุสลิมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาใน 6 ประเด็น ได้แก่ ทรรศนะต่อหลักปฏิบัติตามแบบอบ่างของศาสดา (ซุนนะฮฺ) ทรรศนะและวิธีปฏิบัติต่อผู้นำ (ฏออะฮฺ) วิธีขอพร (ดุอาอฺ) พิธีศพ (ญะนาซะฮฺ) โอวาทก่อนการละหมาดวันศุกร์ (คุฏบะฮฺ) การฉลองวันคล้ายวันประสูติของศาสดา (เมาลิด) กลุ่มที่ศึกษามีสี่กลุ่มประกอบด้วย กลุ่มแนวจุฬาราชมนตรี กลุ่มแนวกีแซะฮฺภูเขาทอง กลุ่มแนวดะฮฺวะฮฺ กลุ่มแนวครูฟอวัดโคก ใช้วิธีการศึกษาโดยการค้นคว้าข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง สัมภาษณ์ และสังเกตแบบมีส่วนร่วม และไม่มีส่วนร่วม
พบว่าประชากรที่ศึกษาทุกกลุ่มมีความศรัทธาร่วมกันในหลักคำสอนของศาสนาและแหล่งที่มาของคำสอนจากคัมภีร์ทางศาสนา คือ อัลกุรอาน และสุนนะฮฺรวมทั้งหลักนิติศาสตร์อิสลาม ความแตกต่างที่ปรากฏอยู่เป็นข้อปฏิบัติปลีกย่อย ซึ่งแต่ละกลุ่มได้รับอิทธิพลจากผู้นำทางศาสนา การยึดมั่นในผู้นำทางศาสนา และการยอมรับวัฒนธรรมท้องถิ่น น่าจะเป็นปัจจัยสำคัญ ทำให้การตีความศาสนาโดยผู้นำ วัฒนธรรมท้องถิ่นมาประกอบ และถ่ายทอดสืบต่อกันมาโดยผ่านผู้นำทางศาสนาจนเกิดกลุ่มความเชื่อที่มีลักษณะเด่นจำเพาะต่าง ๆ และดำรงอยู่ร่วมกันเป็นพหุสังคมในจังหวัดอยุธยา

ศรีสมภพ จิตรภิรมย์ศรี (2545 : 138) ได้ทำวิจัยเรื่อง “ความเชื่อ พิธีกรรมและประเพณีในชุมชนทรายขาว อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี” พบว่า ลักษณะการประกอบอาชีพของชาวบ้านนำไปสู่ความเชื่อในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และนำไปสู่รูปแบบของการเกิดพิธีกรรมต่างๆ ขึ้น เช่น พิธีไหว้เจ้าที่ในสวนผลไม้ หรือมีพิธีกรรมอย่างอื่น เช่น การไหว้เจ้าที่นา แม่โพสพหรือการทำขวัญ เป็นพิธีกรรมที่แสดงออกถึงความเคารพในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่อยู่ในผืนนา โดยเมื่อเก็บเกี่ยวเสร็จก็นำไปแจกญาติผู้ใหญ่ แล้วนำข้าวมาหุงรวมกันเพื่อนำไปทำบุญ ในทางศาสนาอิสลามจะนำข้าวมารวมกันที่มัสยิดและหุงข้าวรวมกันเรียกว่า “การทำบุญองค์อัลลอฮ์อัลลอฮฺ”

ฉวีวรรณ วรรณประเสริฐ และคณะ (2524) ได้ทำวิจัยเรื่อง “ประเพณีที่ช่วยส่งเสริมการผสมผสานทางสังคมระหว่างชาวไทยพุทธกับชาวไทยมุสลิม” พบว่าประเพณีการทำบุญของชาวมุสลิมใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือปัตตานี ยะลา นราธิวาส บางส่วนตั้งอยู่บนพื้นฐานของศาสนาอิสลาม และบางส่วนได้รับอิทธิพลจากศาสนาพราหมณ์และพุทธ อันเนื่องมาจากก่อนที่อิสลามจะเข้ามาในดินแดนส่วนนี้ บุคคลที่อาศัยอยู่ในที่นี้นับถือศาสนาพราหมณ์และพุทธ เมื่ออิสลามเข้ามาเผยแพร่ผู้คนก็เปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลาม ความเชื่อพฤติกรรมดั้งเดิมบางส่วนยังคงไม่หมดไป แต่มีการผสมผสานระหว่างศาสนาเดิมกับศาสนาอิสลาม เช่น การทำบุญ 3 วัน 7 วัน 10 วัน 40 วัน 100 วัน ให้กับผู้ตาย การเชื่อในเรื่องโหราศาสตร์โดยการตรวจดวงชะตา การถือฤกษ์ ยามเพื่อใช้ในการปฏิบัติต่าง ๆ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นพฤติกรรมที่ได้รับอิทธิพลจากศาสนาพราหมณ์และพุทธ
[1] คุณงามความดี
[2] หะดีษบันทึกโดย al-Bukhary, 1987 หะดีษหมายเลข : 1271 8 ; และMuslim, 1972 หะดีษหมายเลข : 480316 (สำนวนที่อ้างเป็นของ al-Bukhary) , หะดีษอยู่ในระดับเศาะหี้หฺ
[3] หะดีษบันทึกโดย Muslim, 1972 หะดีษหมายเลข : 29995318 ; Ahmad, 1980 หะดีษหมายเลข : 22804 และal-Darimi หมายเลข 2658 (สำนวนที่อ้างเป็นของ MuslimAhmad) หะดีษอยู่ในระดับเศาะหี้หฺ
[4] ส่วนหนึ่งของหะดีษที่บันทึกโดย Muslim, 1972 : 91 ; AbudawudAbu Dawud, 1986 หะดีษหมายเลข : 3568 ; al-Tirmizi, 1983 หะดีษหมายเลข : 1921 และAhmad, 1980 หะดีษหมายเลข : 3718 (สำนวนที่อ้างเป็นของ MuslimAbudawud) หะดีษอยู่ในระดับเศาะหี้หฺ
[5] เป็นส่วนหนึ่งของหะดีษที่บันทึกโดย Muslim, 1972 หะดีษหมายเลข : 214315
[6] อ้างแล้ว, หน้า 5
[7] อ้างแล้ว, หน้า 5
[8] อ้างแล้ว, หน้า 4
[9] อ้างแล้ว, หน้า 4
[10] หะดีษบันทึกโดย Abudawud, บทที่ ๓๙ กิตาบุสสุนนะห์ บาบที่ ๖
[11] หะดีษบันทึกโดย อิบนิมาญะห์ บทที่ ๑ บาบที่ ๗

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น