1.1 ความเป็นมาของปัญหาและปัญหา

ความศรัทธาของอิสลามที่ท่านเราะสูล นบีนบีมุฮัมมัด[1] r ได้ปลูกฝังให้กับบรรดาเศาะหาบะฮฺของท่าน ตลอดจนบรรดาผู้ที่มีความศรัทธาในอิสลามเริ่มจางลงตามกาลเวลาที่ผ่านไปหลายศตวรรษ ซึ่งบรรดาผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามมากมายในปัจจุบัน ได้รับมรดกทางความเชื่อจากผู้ที่เป็นบิดามารดาเท่านั้นเอง
ในทางกลับกันยังมีผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามอีกไม่น้อยที่มีความเชื่อบิดเบือนไปจากบทบัญญัติที่แท้จริงของอิสลาม มีความเชื่อผิดๆคิดว่าหลายสิ่งหลายอย่างเป็นการกระทำที่เป็นแบบอย่างของท่านเราะสูล นบีนบีมุฮัมมัด r เป็นเรื่องศาสนาที่แม้ตัวของท่านนบี r เราะสูล นบี เองก็มิเคยรู้จัก
ในสิ่งหนึ่งที่มุสลิมทุกคนควรให้ความสำคัญมากที่สุด และควรทุ่มเทเวลาของเขาให้กับมันคือการปฏิบัติตามสุนนะห์ของท่านนบี r อย่างเป็นนิจ และพยายามให้เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของเขาที่ขาดไม่ได้เท่าที่มีความสามารถ ไม่ว่าสุนนะห์ดังกล่าวจะเป็นเพียงสิ่งที่ไม่ถูกบังคับก็ตาม เพราะจากการปฏิบัติตามดังกล่าว จะทำให้เขาได้รับฮิดายะห์[2] อันนำไปสู่ความโปรดปรานของอัลลอฮ์ I และความผาสุกในชีวิตทั้งโลกนี้และโลกหน้า
ที่น่าเสียใจเป็นอย่างยิ่งก็คือ ยังมีมุสลิมอีกจำนวนมากที่ไม่เห็นถึงความสำคัญของสุนนะห์ และมองว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย ที่ใครจะปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติก็ได้แล้วแต่ใครชอบ
ในทางกลับกันยังมีผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามอีกไม่น้อยที่มีความเชื่อบิดเบือนไปจากสุนนะห์ของท่านเราะสูล r มีความเชื่อผิดๆคิดว่าหลายสิ่งหลายอย่างเป็นการกระทำที่เป็นสุนนะห์ของท่านเราะสูล r
พวงทอง ป้องภัย (2540 : 3) ได้ให้ทัศนะเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อกับพฤติกรรมของมนุษย์ว่า

“ความเชื่อเป็นพฤติกรรมภายในที่เป็นนามธรรมซึ่งบุคคลภายนอกไม่สามารถจะมองเห็นได้ เป็นคุณสมบัติที่มีความสำคัญต่อคน เพราะมันทำให้คนเหนือกว่าสัตว์ พฤติกรรมภายในของคนมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมภายนอกที่แสดงออกมา มนุษย์จะแสดงพฤติกรรมภายในและพฤติกรรมภายนอกตั้งแต่เกิดจนตาย”

จากคำกล่าวข้างต้นสอดคล้องกับทัศนะของโรคีช (Roceach : 1970, อ้างถึงในประภาเพ็ญ สุวรรณ, 2520 : 2) ว่า “ความเชื่อเป็นสิ่งที่ก่อให้บุคคลกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ถ้าได้รับการกระตุ้นอย่างเหมาะสม” เมื่อมนุษย์ส่วนมากมีความเชื่อถือศรัทธาในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ก็จะแสดงพฤติกรรมและปฏิบัติในสิ่งที่สอดคล้องกับสิ่งที่ตนเชื่อถือและศรัทธา อันเป็นสิ่งบ่งบอกถึงการยอมรับต่อสิ่งนั้นๆ จนเป็นผลให้เกิดการแสดงพฤติกรรมออกมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าได้รับการส่งเสริมจากผู้รู้ทางศาสนาในสังคม และเป็นการกระทำที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ เขาก็จะปฏิบัติสิ่งนั้นอย่างเต็มใจพร้อมกับปฏิเสธสัจธรรมที่มาสู่ตัวของเขา ดังคำดำรัสของอัลลอฮฺ I ที่ปรากฎอยู่ในพระมหาคัมภีร์อัลกุรอานว่า

#sŒÎ)ur) Ÿ@ŠÏ% ãNßgs9 (#qãèÎ7®?$# !$tB tAt“Rr& ª!$# (#qä9$s% ö@t/ ßìÎ6®KtR !$tB $uZø‹xÿø9r& Ïmø‹n=tã !$tRuä!$t/#uä 3 öqs9urr& šc%x. öNèdät!$t/#uä Ÿw šcqè=É)÷ètƒ $\«ø‹x© Ÿwur tbr߉tGôgtƒ (
(البقرة : 170)
ความว่า “และเมื่อได้ถูกกล่าวแก่พวกเขาว่า จงปฏิบัติตามสิ่งที่อัลลอฮฺได้ทรงประทานลงมาเถิด พวกเขาก็กล่าวว่า มิได้ดอก เราจะปฏิบัติตามสิ่งที่เราได้พบบรรดาบรรพบุรุษของเราเคยปฏิบัติมาเท่านั้น และแม้ได้ปรากฏว่าบรรพบุรุษของเขาไม่เข้าใจสิ่งใดเลย ทั้งไม่ได้รับการนำทางอีกก็ตาม”
(อัลบะเกาะเราะฮฺ : 170)

ในบางครั้งการที่ได้ทำพิธีกรรมต่างๆที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ อาจทำให้รู้สึกว่าได้ปฏิบัติตามครรลองที่ถูกยอมรับในสังคมแล้ว ถึงแม้ว่าสิ่งนั้นมันไม่มีในบทบัญญัติของอิสลามก็ตาม ก็จะต้องรักษาสิ่งนั้นไว้ เนื่องจากเป็นความเชื่อที่ฝังลึกจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของความศรัทธาแล้ว
ความศรัทธาในศาสนา เป็นหลักความเชื่อที่มุสลิมทุกคนต้องยึดมั่น แต่เนื่องจากในระยะแรกยังไม่มีผู้นำคำอธิบายทางศาสนารู้หรือนักวิชาการที่สามารถขจัดแนวความเชื่อเดิมได้จึงทำให้ความเชื่อเกี่ยวกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ผีสาง นางไม้ ฤกษ์ยาม (พิทยา บุษรารัตน์ และสมปอง ยอดมณี, 2544 : 95) ความเชื่อในเรื่องวิญญาณท้องถิ่น[3] การปฏิบัติทางมายาศาสตร์[4] ยังปรากฏให้เห็นได้ในประเพณี และพฤติกรรมต่าง ๆ ของสังคม เมื่อกลุ่มชนในสังคมหันมานับถือศาสนาอิสลาม ความเชื่อและการปฏิบัติดั้งเดิมไม่ได้หมดไปเสียทีเดียว แต่ได้มีการผสมผสานกลมกลืนกับศาสนาอิสลามที่เข้ามาในพื้นที่ และได้มีการปฏิบัติจนถึงปัจจุบัน (สนิทร สมัครการ, 2539: 65)
ความเชื่อนั้นมีการปลูกฝังต่อกันมาหลายชั่วอายุคน หากคนหนึ่งคนใดในสังคมไม่เจริญรอยตามในสิ่งที่สังคมได้ปฏิบัติกันมาผู้นั้นย่อมไม่เป็นที่ต้องการของสังคมดังที่สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์ (2542 : 984) ได้กล่าวว่า

“ความเชื่อเป็นวัฒนธรรมพื้นบ้านประเภทหนึ่ง ซึ่งมักมีอิทธิพลต่อแนวคิด และพฤติกรรมของชาวบ้านกลุ่มนั้นอย่างลึกซึ้ง เพราะการสืบทอดความเชื่อมีการปลูกฝังสืบต่อกันมาหลายชั่วคน ผู้ให้การสืบทอดล้วนแต่ยึดถือปฏิบัติให้ประจักษ์ชัดเป็นต้นแบบอย่างกว้างขวางและมั่นคง และล้วนมีเจตนาที่จะปลูกฝังให้ผู้สืบสันดานเจริญรอยอย่างเคร่งครัด มักเป็นเงื่อนไขในการอยู่รวมกัน ผู้ปฏิบัติตามย่อมเป็นที่ยอมรับของคณาญาติและสังคม ส่วนผู้ฝ่าฝืนย่อมไม่เป็นที่ปรารถนา การปลูกฝังความเชื่อล้วนมีขึ้นนับแต่วินาทีแรกของผู้สืบต่อเริ่มเป็นสมาชิกใหม่ของสังคมนั้น ๆ การบ่มเพาะจึงเป็นการตัดแต่งไม้อ่อนให้ค่อยปรับเปลี่ยนตาม และเพิ่มพูนขึ้นจนกลายเป็นผู้สืบสันดานให้แก่คนรุ่นต่อ ๆ ไป”

เมื่อความเชื่อได้ถูกปลูกฝังมาพร้อมกับการปฏิบัติจนได้กลายมาเป็นพิจากความเชื่อที่เกิดขึ้นในสังคมทำให้เกิดประเพณีต่าง ๆ ตามความเชื่อเหล่านั้น ซึ่งสังคมที่มีความเชื่อแตกต่างกัน ก็ย่อมมีประเพณีที่แตกต่างกัน
คำว่าประเพณีตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน (พ.ศ. 2525 : 501) หมายถึง สิ่งที่นิยมถือประพฤติปฏิบัติสืบๆ กันมาจนเป็นแบบแผน ขนบธรรมเนียม หรือจารีตประเพณี (สมชัย ใจดี และยรรยง ศรีวิริยาภรณ์, 2534 : 6-7) ได้กล่าวว่า ประเพณี คือ ความประพฤติที่คนส่วนใหญ่ปฏิบัติต่อกันมาจนเป็นแบบอย่างเดียวกัน เป็นระเบียบแบบแผนที่จะเห็นว่าถูกต้องหรือเป็นที่ยอมรับของคนส่วนใหญ่ และปฏิบัติสืบต่อกันมา เช่น ประเพณีที่เกี่ยวข้องกับการเกิด หรือหมั้น แต่งงาน ตาย เป็นต้น
ประเพณีเกิดจากสภาพสังคม ธรรมชาติ ทัศนคติ เอกลักษณ์ ค่านิยม และความเชื่อของคนในสังคมต่อสิ่งที่มีอำนาจเหนือมนุษย์ เช่น อำนาจของดินฟ้าอากาศและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุต่างๆ ฉะนั้นเมื่อเวลาเกิดภัยพิบัติขึ้น มนุษย์จึงต้องอ้อนวอนร้องขอในสิ่งที่ตนคิดว่าช่วยได้ เมื่อภัยพิบัตินั้นผ่านไป มนุษย์ก็แสดงความรู้คุณต่อสิ่งนั้นๆ ด้วยการประกอบพิธีบูชา หรือการทำบุญเพื่อเป็นสิริมงคล ตามความเชื่อความรู้ของตนที่มีอยู่ เมื่อความประพฤตินั้นคนในสังคมส่วนรวมถือปฏิบัติกันเป็นธรรมเนียมหรือเป็นระเบียบแบบแผน และปฏิบัติต่อกันมา การปฏิบัติดังกล่าวจึงกลายเป็นประเพณีของสังคมนั้น (สมปราชญ์ อัมมะพันธ์, 2536 :18)ธีกรรม ซึ่งเป็นการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งตามค่านิยม ทัศนคติ ความคิด และความเชื่อ โดยเข้าใจว่าการกระทำอย่างนั้นย่อมมีผลตอบสนอง ทำให้คนได้รับประโยชน์ตามที่คาดหวังเอาไว้ ทำแล้วมีผลทำให้จิตใจเบิกบาน เป็นสุขที่เรียกว่า ได้บุญได้กุศล พิธีกรรมจึงเป็นสิ่งที่มนุษย์สมมุติขึ้นเพื่อให้เกิดความสบายใจแก่ตัวเอง
พิธีกรรมต่างๆ ที่ปฏิบัติกันอยู่ทั้งในอดีต ตลอดมาจนถึงปัจจุบันนี้ ในระยะแรกไม่เกี่ยวกับศาสนา แต่เมื่อเกิดมีศาสนาขึ้น จึงมีผู้นำเอาพิธีกรรมเข้าไปเกี่ยวข้องกับศาสนา อาจเพื่อให้เกิดความศรัทธา ขลัง ศักดิ์สิทธิ์ ฯลฯ ส่วนมากเป็นพิธีกรรมของศาสนาพราหมณ์ ซึ่งชาวไทยนับถือมาก่อน ต่อมาเมื่อชาวไทยยอมรับนับถือศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ พิธีกรรมในศาสนาพราหมณ์จึงเข้ามาปะปนในพุทธศาสนา (สมปราชญ์ อัมมะพันธ์, 2536 : 20) รวมถึงได้มาปะปนกับศาสนาอิสลาม ภายหลังจากที่อิสลามเข้ามาในพื้นที่ จึงได้เกิดเป็นพิธีกรรมศาสนาของอิสลามไปโดยปริยายภายหลังจากที่อิสลามเข้ามาในพื้นที่ จึงได้เกิดเป็นพิธีกรรมของชาวมุสลิมไปโดยปริยาย
กรุงเทพมหานครเป็นเมืองหลวงของประเทศไทยที่มีประชากรส่วนหนึ่งนับถือศาสนาอิสลาม การเข้ามาของศาสนาอิสลามมาจากหลายกลุ่มหลายเชื้อชาติ ส่วนหนึ่งได้มาจากแนวชีอะฮฺ ซึ่งมาจากมุสลิมชาวเปอร์เชียที่นำมาเผยแผ่ในดินแดนแห่งนี้ อีกส่วนหนึ่งมาจากแนวสุนนะฮฺ (ซุนนีย์) ที่นำมาถ่ายทอดโดยมุสลิมเชื้อสายอาหรับ ซึ่งถ่ายทอดผ่านทางกลุ่มเชื้อสายมลายูที่อาศัยอยู่ในดินแดนตอนใต้ของประเทศไทย (นิรันดร์ ขันธวิธิ, 2543 : 3)
การเข้ามาของศาสนาอิสลามในจังหวัดกรุงเทพมหานครทำให้เกิดการผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมอิสลามกับวัฒนธรรมท้องถิ่นเดิมที่มีอยู่ ตั้งแต่พิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเกิดไปจนกระทั่งพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับการตาย จึงทำให้เกิดประเพณีพิธีกรรมต่างๆ มากมายที่บิดเบือนไปจากหลักการของอิสลาม เช่น การทำอีซีกุโบ๊รหรืออัรฺวะฮฺ[5] การทำเมาลิด[6] การทำการทำบุญในวันพุธสุดท้ายของเดือนเศาะฟัร[7] อาชูรอ[8] และนิสฟูชะอฺบาน[9] ซึ่งความเชื่อและการปฏิบัติเหล่านี้บางส่วนล้วนได้รับอิทธิพลมาจากความเชื่อของศาสนาอื่นทั้งสิ้น โดยเฉพาะศาสนาพุทธและศาสนาพราหมณ์
คงไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรที่อิทธิพลจากศาสนาอื่นจะปะปนกับความเชื่อในการประกอบพิธีกรรมของชาวมุสลิมในกรุงเทพมหานครซึ่งอาจรวมถึงชาวมุสลิมในประเทศไทยทั้งหมดด้วยเช่นกัน เนื่องจากก่อนที่ศาสนาอิสลามจะเข้ามาในพื้นที่ ชาวบ้านก็มีความเชื่อต่างๆแตกต่างกันไปตามแต่ละท้องที่ เมื่ออิสลามเข้ามาก็มีการผสมผสานกันระหว่างความเชื่อเดิมกับความเชื่อของอิสลาม วิวัฒนาการมาเป็นพิธีกรรมใหม่ขึ้นมาในศาสนาที่มีความเชื่อจากอิทธิพลของศาสนาอื่น แต่รูปแบบในพิธีกรรมนั้นได้ทำให้เหมือนเป็นรูปแบบของอิสลาม โดยอาจนำเอาบทอ่านต่างๆในพิธีกรรมนั้นๆมาจากพระมหาคัมภีร์อัลกุรอาน มีถ้อยคำรำลึกถึงพระผู้เป็นเจ้าอยู่บ้าง มีการวิงวอนขอดุอาอฺต่อพระผู้เป็นเจ้าเป็นการปิดท้ายพิธีกรรมนั้นๆ และที่สำคัญในปัจจุบันนี้ต้องมีการเลี้ยงอาหารและค่าตอบแทนสำหรับคณะผู้นำในการประกอบพิธีกรรม อาจมองดูว่าเป็นธุรกิจการหาผลประโยชน์จากเรื่องศาสนาก็เป็นได้
กล่าวได้ว่าเมื่อไม่มีผู้รู้นำความจริงมาตีแผ่แก่ชาวบ้าน ก็จะทำให้ชาวบ้านโดยเฉพาะเด็กๆเยาวชนที่ซึมซับอยู่กับพิธีกรรมต่างๆอยู่เป็นประจำ เข้าใจผิดคิดว่าพิธีกรรมต่างๆเหล่านี้เป็นพิธีกรรมของศาสนาอิสลามจริง มีแบบอย่างจากท่านเราะสูล นบีนบีมุฮัมมัด r จริง ทำให้ชาวบ้านพร้อมที่จะสละทรัพย์สินมากมายในการประกอบพิธีกรรมต่างๆเหล่านี้ โดยหวังการตอบแทนจากอัลลอฮฺ์ I โดยไม่ทราบเลยว่าการกระทำต่างๆเหล่านี้จะไม่ได้รับการตอบแทนใดๆ เนื่องจากเป็นพิธีกรรมที่ไม่ได้มีแบบอย่างจากท่านเราะสูล นบีนบีมุฮัมมัด r
ท่านเราะสูล นบีนบีมุฮัมมัด r ได้กล่าวไว้มากมายถึงสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่ๆ ที่ไม่มีแบบอย่างจากท่าน ว่าได้แก่
((من أحدث في أمرنا هذا ما ليس منه فهو رد))[10]
(مسلم، 1972 : 1718)
ความว่า “ผู้ใดคิดเรื่องใดขึ้นใหม่ซึ่งไม่ได้อยู่ในกิจการของเรา เรื่องนั้นก็ถูกโยนกลับ”
(Muslim, 1972 : 1718)
((من عمل عملاً ليس عليه أمرنا فهو رد))[11]
(مسلم، 1972 : 1718)
ความว่า “บุคคลใดที่ทำการงานใดๆ โดยไม่มีแบบอย่างจากเราในงานนั้น สิ่งนั้นจะถูกโยนกลับ”
(Muslim, 1972 : 1718)

((من أحدث في أمرنا هذا ما ليس فيه فهو رد))[12]

ความว่า “ผู้ใดคิดเรื่องใดขึ้นใหม่ซึ่งไม่ได้อยู่ในกิจการของเรา กิจการนั้นก็ถูกโต้กลับ”((وإياكم ومحدثات الأمور ؛ فإن كل محدثة بدعة ، وكل بدعة ضلالة))[13]
(أبو داود، 1986 : 4607)
ความว่า “ท่านทั้งหลายจงระวังการงานใหม่ๆ[14] เพราะแท้จริงทุกๆ การงานใหม่ๆ นั้นคือบิดอฺะฮฺ และทุกๆ บิดอฺะฮฺนั้นคือการหลงผิด”
(Abu Dawud, 1986 : 4607)
((إن أصدق الحديث كتاب الله ، وأحسن الهدي هدي محمد ، وشر الأمور محدثاتها ، وكل محدثة بدعة وكل بدعة ضلالة وكل ضلالة في النار))[15]
(النسائي، 1964 : 3/188)
ความว่า “แท้จริงคำพูดที่ดีที่สุดนั้นคือคัมภีร์ของอัลลอฮฺ แบบอย่างที่ดีที่สุดนั้นคือแบบอย่างของมุฮัมมัด r การงานที่ต่ำทรามที่สุดนั้นคือการงานที่เกิดขึ้นใหม่ ทุกๆ สิ่งใหม่นั้นคือบิดอฺะฮฺ ทุกๆ บิดอฺะฮฺนั้นคือการหลงผิด และทุกๆ การหลงผิดนั้นจะอยู่ในนรก”
(al-Nasa’i, 1964 : 3/188)

พิธีกรรมของชาวมุสลิมในเขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร ที่ผู้วิจัยประสงค์จะศึกษานี้เป็นพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อ โดยผู้วิจัยได้เจาะจงถึงพิธีีกรรมที่บิดเบือนไปจากหลักการของศาสนาอิสลามทั้งสิ้น อันได้แก่ การทำอีซีกุโบ๊รหรืออัรฺวะฮฺ การทำเมาลิด การทำการทำบุญในวันพุธสุดท้ายของเดือนเศาะฟัร อาชูรอ และนิสฟูชะอฺบาน ซึ่งปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นล้วนแล้วเป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจริงของชาวมุสลิมในเขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร โดยมีการปฏิบัติกันอยู่ตลอดจนกลายเป็นเรื่องที่ทุกคนเชื่อว่าเป็นเรื่องศาสนา
กอปรกับเรื่องดังกล่าวยังไม่มีผู้ใดที่ทำการศึกษาและรวบรวมข้อมูลอย่างจริงจังในสถานที่แห่งนี้ ซึ่งเป็นสถานที่ที่มีชุมชนมุสลิมอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น ตลอดจนมีแนวทางในการนับถือศาสนาอิสลามอยู่มากมายหลายความเชื่อ ไม่ว่าจะเป็นซุนนี ชีอฺะฮฺ ซูฟี เฎาะรีเกาะฮฺและอื่นๆ
จากความเป็นมาของปัญหาที่ได้กล่าวมาข้างต้น ผู้วิจัยมีความเห็นว่า จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำการศึกษาเรื่องดังกล่าว ซึ่งจะเป็นประโยชน์สำหรับอนุชนรุ่นหลัง และผู้ที่สนใจได้ทำการศึกษาค้นคว้าต่อไป
[1] ท่านนบีมุฮัมมัด r เราะสูล หมายถึงบุคคลที่อัลลอฮ์อัลลอฮฺ I ทรงโปรดปรานคัดเลือกให้มีหน้าที่เผยแผ่ศาสนาให้แก่ประชาชาติทั้งปวงได้รู้ทั่วกัน และทรงได้ประทานคัมภีร์ ซึ่งเป็นบทบัญญัติของอัลลอฮ์อัลลอฮฺ I ส่วนนบีนั้นคือผู้ที่อัลลอฮ์อัลลอฮฺ I ทรงมอบบัญญัติของพระองค์ให้ปฏิบัติ แต่มิได้ประทานคัมภีร์ลงมาให้ ตำแหน่งเราะสูลสูงกว่าตำแหน่งนบีเพราะเราะสูลทุกคนเป็นนบีมาก่อน และนบีทุกคนหาใช่ว่าจะเป็นเราะสูลกันทุกคน นบีทั้งหมดมีจำนวนมากมายส่วนเราะสูลมีจำนวนน้อยกว่า และปรากฏชื่อในอัลกุรอานทั้งหมด 25 ท่าน เราะสูลท่านแรกคืออาดัม และท่านสุดท้ายคือนบีมุฮัมมัด r
[2] ทางนำ
[3] ความเชื่อในเรื่องเจ้าที่ที่สิงสถิตอยู่ตามต้นไม้หรือสถานที่ต่าง ๆ
[4] .
[4]
วิชาที่ว่าด้วยลัทธิ เวทมนตร์ คาถา และวิทยาคม แบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ ไสยขาว หมายถึงวิชาลึกลับใช้เวทมนในทางที่ดี เช่น ทำเครื่องรางของขลังป้องกันภัยอันตราย และไสยดำหมายถึง วิชาลึกลับใช้เวทมนในทางชั่วร้าย เช่น ทำเสน่ห์ยาแฝด ทำให้คู่รักเลิกกัน เป็นต้น
[5] การทำบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว
[6] การจัดงานเพื่อเฉลิมฉลองเนื่องในวันประสูติของท่านนบี r
[7] การทำน้ำศักดิ์สิทธิ์เพื่อรักษาและปัดเป่าภยันตรายต่างๆ
[8] การทำขนมชนิดหนึ่งเพื่อกินกัน โดยมีความเชื่อว่าเป็นการรำลึกถึงเหตุการณ์ที่ท่านนบีนูนัวะหฺและผู้ศรัทธาในยุคนั้นได้รับความปลอดภัยจากเหตุการณ์น้ำท่วม
[9] การทำพิธีกรรมโดยการอ่านส่วนหนึ่งจากอัลกุรอานในวันที่ ๑๕ 15 ชะอฺบาน แล้วมีการขอดุอาอ์ตามที่ได้กำหนดไว้
[10] หะดีษบันทึกโดย al-Bukhary, 1987 : 2697 และ Muslim, 1972 : 1718 (สำนวนที่อ้างเป็นของ Muslim), หะดีษอยู่ในระดับเศาะหี้หฺ.
[11] หะดีษบันทึกโดย Muslim, 1972 : 1718, หะดีษอยู่ในระดับเศาะหี้หฺ.
[12] หะดีษบันทึกโดย Abudawud,) บทที่ ๓๙ กิตาบุสสุนนะห์ บาบที่ ๖أخرجه بخاري (5/301) برقم 2697 ، ومسلم (2/16) واللفظ له .
[13] หะดีษบันทึกโดย Abu Dawud, 1986 : 4607 ; Ibn Majah, 1975 : 42 ; al-Tirmizi, 1983 : 2676 (สำนวนที่อ้างเป็นของAbu Dawud) , หะดีษอยู่ในระดับหะซันเศาะหี้หฺ โดย al-Albani, 1985.
[14] การงานที่อุตริกรรมขึ้นใหม่โดยถูกพาดพิงให้เป็นเรื่องศาสนา ที่ไม่มีแบบอย่างจากท่านนบี r
[15] หะดีษบันทึกโดย al-Bukhary, 1987 : 7277 ; Muslim, 1972 : 867; al-Nasa’i, 1964 : (3/188) (สำนวนที่อ้างเป็นของ al-Nasa’i) , หะดีษอยู่ในระดับเศาะหี้หฺ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น