مقدمة



الحَمْدُ للهِ الذِي خَلَقَ كُلَّ شَيءٍ فَقَدَّرَهُ تَقْدِيراً، وَوَسِعَ كُلَّ شَيءٍ رَحْمَةً وعِلْماً وتَدْبِيراً، وَنَشْهَدُ أَنْ لاَ إِلَهَ إِلاَّ اللهُ وَحْدَهُ لاَ شَرِيكَ لَهُ،
وَنَشْهَدُ أَنَّ نَبِيَّنَا مُحَمَّداً عَبْدُهُ وَرَسُولُهُ، - صلى الله عليه وسلم- وَعَلَى آلِهِ وصَحْبِهِ ومَنِ اهتَدَى بِهَدْيِهِ إِلَى يَوْمِ الدِّينِ. أَمَّا بَعْدُ

1.7 นิยามศัพท์เฉพาะ

ความเชื่อ หมายถึง ความเชื่อของผู้ที่ประกอบพิธีกรรมต่างๆ ซึ่งอาจจะอยู่บนความถูกต้องและไม่ถูกต้องของหลักการอิสลามก็ได้ ได้แก่ ความเชื่อว่าการประกอบพิธีกรรมนั้นเป็นการปฏิบัติตามแบบฉบับของท่านนบีมุฮัมมัด  , ความเชื่อว่าถ้าประกอบพิธีกรรมแล้วจะได้รับผลตอบแทนจากอัลลอฮฺ, ความเชื่อว่าเป็นการปฏิบัติตามแนวทางของบรรพบุรุษ เป็นต้น

พิธีกรรม หมายถึง รูปแบบการกระทำใหม่ๆ ที่บุคคลนั้นๆ ปฏิบัติสืบทอดกันมาในโอกาสต่างๆ มีความเชื่อว่าเป็นเรื่องศาสนา โดยที่การกระทำนั้นๆไม่มีในสุนนะฮฺของท่านนบีมุฮัมมัด  และหวังการตอบแทนจากอัลลอฮฺ  อันได้แก่ พิธีกรรมการทำอีซีกุโบ๊ร หรือ อัรฺวะฮฺ การทำเมาลิดให้แด่ท่านนบีมุฮัมมัด  การทำบุญในวันพุธสุดท้ายของเดือนเศาะฟัร อาชูรอ และนิสฟูชะอฺบาน
ชาวมุสลิมในเขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร หมายถึง ผู้ที่นับถือศาสนาอิสลาม มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร
บทบัญญัติ หมายถึง คำสั่งใช้ที่มีปรากฏในพระมหาคัมภีร์อัลกุรอาน โดยมีแบบอย่างการกระทำจากท่านนบีมุฮัมมัด r

1.6 ข้อตกลงเบื้องต้น

ในงานวิจัยนี้ผู้วิจัยได้กำหนดข้อตกลงเบื้องต้นไว้ดังนี้
1. การปริวรรตอักษรอาหรับ - ไทย ใช้ของวิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
2. การปริวรรตอักษรอาหรับ – อังกฤษ ใช้ของห้องสมุดรัฐสภาอเมริกา
3. ความหมายภาษาไทยของคัมภีร์อัลกุรอาน ผู้วิจัยอ้างอิงจากพระมหาคัมภีร์ อัลกุรอานฉบับที่จัดพิมพ์โดยศูนย์กษัตริย์ฟาฮัด เพื่อการพิมพ์อัลกุรอาน ปีฮิจเราะฮฺศักราช 1419 (พุทธศักราช 2542) โดยผู้วิจัยอ้างอิงในบรรณานุกรมเพียงครั้งเดียว
4. การแนะนำบุคคล และสถานที่ ผู้วิจัยแนะนำเฉพาะที่ไม่เป็นที่รู้จัก
5. สัญลักษณ์  อ่านว่า “สุบฮานะฮูวะตะอาลา” เป็นคำสรรเสริญต่อเอกองค์อัลลอฮฺ แปลว่า มหาบริสุทธิ์แด่พระองค์
6. สัญลักษณ์  อ่านว่า “ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม” เป็นคำสรรเสริญและ ดุอาอฺแด่ท่านนบีมุฮัมมัด แปลว่า ขออัลลอฮฺ  ทรงสดุดีและให้ความสันติแด่ท่าน
7. สัญลักษณ์  อ่านว่า “เราะฎิยัลลอฮุอันฮู” เป็นคำขอดุอาอฺแด่เศาะหาบะฮฺ แปลว่า ขอให้อัลลอฮฺ  ทรงพอพระทัยต่อท่าน
8. สัญลักษณ์   วงเล็บปีกกา จะใช้สำหรับอัลกุรอาน
9. สัญลักษณ์ (( ))วงเล็บคู่ จะใช้สำหรับตัวบทอัลหะดีษ
10. สัญลักษณ์ “ ” อัญประกาศ จะใช้สำหรับการแปลความหมายของพระมหาคัมภีร์อัลกุรอาน อัลหะดีษ ชื่อหนังสือ และคำกล่าวของบรรดานักปราชญ์

1.5 ขอบเขตของการวิจัย

การศึกษาความเชื่อและพิธีกรรมศาสนาของชาวมุสลิมในเขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร ผู้วิจัยได้กำหนดขอบเขตของการวิจัยออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้ คือ
1.5.1 การวิจัยเชิงเอกสาร

ผู้วิจัยจะทำการศึกษาค้นคว้าจากเอกสาร คัมภีร์อัลกุรอาน อัลหะดีษ วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ในด้านของความเชื่อความศรัทธา อันตรายของความเชื่อที่ขัดแย้งกับอิสลาม ตลอดจนได้ศึกษาถึงหลักการปฏิบัติในส่วนที่เกี่ยวกับพิธีกรรม โดยครอบคลุมด้านต่างๆ อันได้แก่ เงื่อนไขของพิธีกรรมต่างๆที่ถูกตอบรับจากอัลลอฮฺ หุก่มของพิธีกรรมที่ไม่มีแบบอย่างจากท่านนบีมุฮัมมัด  หุก่มของผู้ที่ประกอบพิธีกรรมในบริบทต่างๆ เป็นต้น
1.5.2 การวิจัยภาคสนาม

ผู้วิจัยจะทำการศึกษาวิจัยถึงความเชื่อ และพิธีกรรมศาสนาของชาวมุสลิมในเขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร

1.4 ความสำคัญและประโยชน์ของการวิจัย

การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับความเชื่อและพิธีกรรมศาสนาของชาวมุสลิมในเขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานครครั้งนี้ เป็นการศึกษาเพื่อสร้างองค์ความรู้ที่แท้จริงเกี่ยวกับความเชื่อในพิธีกรรมต่างๆที่บิดเบือนออกไปจากหลักคำสอนแห่งคัมภีร์อัลกุรอาน สุนนะฮฺของท่านนบีมุฮัมมัด  และทัศนะของปวงปราชญ์มุสลิมมุอฺตะบะรีน ตลอดจนพฤติกรรมในพิธีกรรมต่างๆที่เป็นผลมาจากความเชื่อของชาวมุสลิมในเขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร และผู้วิจัยคาดว่าจะได้รับประโยชน์จากการศึกษาดังนี้
1. ได้ทราบถึงความเชื่อต่างๆและความเชื่อที่ถูกต้องตามบทบัญญัติของศาสนา
2. ได้ทราบถึงบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับพิธีกรรมต่างๆ ที่ไม่มีในแบบอย่างจากท่านนบีมุฮัมมัด  หุก่มของพิธีกรรม และหุก่มของผู้ที่ประกอบพิธีกรรมนั้นในบริบทต่างๆ
3. ได้ทราบถึงความเชื่อในการประกอบพิธีกรรมศาสนาที่ไม่มีในแบบอย่างจากท่านนบีมุฮัมมัด  ของชาวมุสลิมในเขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร
4. ได้นำเสนอข้อมูลและหลักการที่ถูกต้องแก่ชาวมุสลิม และผู้สนใจทั่วไป
5. ได้เพิ่มประสบการณ์ในการทำวิจัยของผู้วิจัยให้สูงขึ้น

1.3 วัตถุประสงค์

ในการทำวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยมีวัตถุประสงค์ดังนี้
1.เพื่อศึกษาถึงความเชื่อต่างๆและความเชื่อที่ถูกต้องตามบทบัญญัติของศาสนา
2.เพื่อศึกษาถึงบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับพิธีกรรมต่างๆ ที่ไม่มีในแบบอย่างจากท่านนบีมุฮัมมัด  หุก่ม ของพิธีกรรม และหุก่มของผู้ที่ประกอบพิธีกรรมนั้นในบริบทต่างๆ
3.เพื่อศึกษาความเชื่อในการประกอบพิธีกรรมศาสนาที่ไม่มีในแบบอย่างจากท่านนบีมุฮัมมัด  ของชาวมุสลิมในเขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร

1.2 อัลกุรอาน อัลหะดีษ และเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

1.2.1 1. อัลกุรอาน
จากการศึกษาคัมภีร์อัลกุรอานที่เกี่ยวข้องกับความศรัทธา และการประกอบพิธีกรรมต่างๆ พบว่าในคัมภีร์อัลกุรอาน อัลลอฮ์อัลลอฮฺ I ได้ตรัสถึงเรื่องความศรัทธาไว้เป็นหลักสำคัญและละเอียดอ่อนยิ่ง คัมภีร์อัลกุรอานยังได้ยืนยันถึงการศรัทธาในอิสลามว่าเป็นรากฐานสำคัญของการประพฤติปฏิบัติและความดีงามทั้งมวล อัลลอฮ์อัลลอฮฺ I ได้ตรัสไว้ในอัลกุรอานมากมายหลายอายะฮฺ ถึงบรรดาผู้ศรัทธาควบคู่ไปกับการปฏิบัติอะมัลซอลิฮฺ ซึ่งเป็นการชี้ให้เห็นว่า อัลลอฮ์ ให้ความสำคัญกับการศรัทธาพร้อมทั้งการประพฤติปฏิบัติ กล่าวคือ เมื่อคนหนึ่งคนใดศรัทธาต่ออัลลอฮ์อัลลอฮฺ I เพียงอย่างเดียว แต่การปฏิบัติของเขาสวนทางกับสิ่งที่เขาศรัทธา โดยการที่เขาปฏิบัติไม่ดี การงานของเขาก็จะไม่ถูกตอบรับ และหากคนใดไม่ศรัทธาต่ออัลลอฮ์อัลลอฮฺแต่เขาปฏิบัติคุณงามความดี การงานต่างๆ ของเขาก็ย่อมไร้ผลไม่เป็นที่ยอมรับของอัลลอฮ์อัลลอฮฺ I และที่สำคัญ การจะประกอบศาสนกิจใดๆก็ตาม ต้องเป็นไปตามคำสั่งใช้ของอัลลอฮ์อัลลอฮฺ I และมีแบบอย่างจากท่านเราะสูล นบีนบีมุฮัมมัด r การกระทำนั้นจึงจะเป็นคุณงามความดี ดังปรากฏในโองการอายะฮฺต่าง ๆ ดังนี้
1.2.1.1 ความศรัทธาเป็นรากฐานของอิสลามและสิ่งที่ดีงามทั้งมวล

อัลลอฮ์อัลลอฮฺ I ตรัสว่า

(سورة الحجرات بعض من الآية : 15)

ความว่า “แท้จริงศรัทธาชนที่แท้จริงนั้น คือบรรดาผู้ศรัทธาต่ออัลลอฮฺและเราะสูลของพระองค์ แล้วพวกเขาไม่สงสัยเคลือบแคลงใจ แต่พวกเขาได้เสียสละต่อสู้ดิ้นรนด้วยทรัพย์สมบัติของพวกเขา และชีวิตของพวกเขาไปในหนทางของอัลลอฮ์อัลลอฮฺ...”
(อัลหุจญรอตสวนหนึ่งจากอายะฮฺที่ 15 : 15สูเราะฮฺอัลหุจญรอต)

ผู้ศรัทธาที่มีความศรัทธาอย่างแท้จริง โดยเขามีความศรัทธาต่ออัลลอฮฺ I และท่านนบีมุฮัมมัด r ชนเหล่านี้จะมีความบริสุทธิ์ใจในความเชื่อของเขา และยืนหยัดในความเชื่อของตนเองด้วยการกระทำต่างๆที่เป็นไปในหนทางของอัลลอฮฺเป็นแนวทางของอิสลามที่แท้จริง ตามที่อัลลอฮฺ I พระองค์ทรงสั่งใช้และมีแบบอย่างจากท่านนบีมุฮัมมัด r
อัลลอฮ์อัลลอฮฺ I ตรัสว่า :

(سورة الكهف الآية : 30)

ความว่า “แท้จริงบรรดาผู้ศรัทธาและกระทำความดีทั้งหลาย เราจะไม่ให้การตอบแทนของผู้กระทำความดีสูญหายอย่างแน่นอน”
(สูเราะฮฺอัลกะฮฟฺ อายะฮฺที่: 30)
ผู้ที่มีความศรัทธาอย่างแท้จริงพร้อมกับการประกอบคุณงามความดี ซึ่งได้แก่การประกอบพิธีกรรมต่างๆที่มีอยู่ในบทบัญญัติของอิสลามตามแบบฉบับของท่านนบีมุฮัมมัด r แน่นอนว่าการกระทำของเขาจะได้รับผลตอบแทนจากอัลลอฮฺ I อย่างสมบูรณ์

อัลลอฮ์อัลลอฮฺ I ตรัสว่า

(سورة فصلت الآية : 8)

ความว่า “แท้จริง บรรดาผู้ศรัทธาและกระทำความดีทั้งหลาย สำหรับพวกเขานั้นจะได้รับรางวัลอย่างมิขาดสาย”
(สูเราะฮฺฟุศศิลัต อายะฮฺที่: 8)
ผู้ที่มีความศรัทธาอย่างแท้จริงพร้อมกับประกอบคุณงามความดี ซึ่งได้แก่การประกอบพิธีกรรมต่างๆที่มีอยู่ในบทบัญญัติของอิสลามตามแบบฉบับของท่านนบีมุฮัมมัด r แน่นอนว่าการกระทำของเขาจะได้รับผลตอบแทนจากอัลลอฮฺ I ตลอดกาล ตราบใดที่เขายังไม่เป็นผู้ที่ฝ่าฝืนต่อพระองค์



อัลลอฮ์อัลลอฮฺ I ตรัสว่า

(سورة المائدة بعض من الآية : 5)

ความว่า “...และผู้ใดปฏิเสธการศรัทธาแน่นอนงานของเขาก็ไร้ผล ขณะเดียวกันในวันอาคิเราะฮฺพวกเขาจะอยู่ในหมู่ผู้ที่ขาดทุน”
(อัลมาอิดะฮฺ ส่วนหนึ่งจากอายะฮฺที่ 5 สูเราะฮฺ: 5 อัลมาอิดะฮฺ)
ผู้ที่ประกอบพิธีกรรมต่างๆในสภาพความเชื่อของพวกเขาไม่ถูกต้อง การงานของเขาก็จะไม่ได้รับผลตอบแทน โดยเขาจะได้เห็นภาพจริงในวันอาคิเราะฮฺ ว่าการกระทำของเขานั้นไม่มีผลอันใดเลย


อัลลอฮ์อัลลอฮฺ I ตรัสว่า

(سورة الأحزاب بعض من الآية : 19)

ความว่า “...ชนเหล่านั้นพวกเขามิได้ศรัทธาอัลลอฮ์อัลลอฮฺจึงทรงให้การงานของพวกเขาไม่บังเกิดผล และนั่นเป็นเรื่องง่ายดายแก่พระองค์”
(ส่วนหนึ่งจากอายะฮฺที่ อัลอะหฺซาบ19 สูเราะฮฺ: 19อัลอะหฺซาบ)
ถ้าหากว่ากลุ่มชนใดมีความเชื่อที่ไม่ถูกต้อง ก็มิใช่เรื่องยากอันใดที่อัลลอฮฺ I จะปฏิเสธการตอบแทนจากการงานของเขา

1.2.1.2 อัลลอฮฺ I ทรงกล่าวถึงผู้ที่ยึดแนวทางในการปฏิบัติตามบรรพบุรุษ โดยที่พวกเขาไม่ยอมรับสัจธรรมที่มาหลังจากนั้น
อัลลอฮฺ I ตรัสว่า


(البقرة : 170)
ความว่า “และเมื่อได้ถูกกล่าวแก่พวกเขาว่า จงปฏิบัติตามสิ่งที่อัลลอฮฺได้ทรงประทานลงมาเถิด พวกเขาก็กล่าวว่า มิได้ดอก เราจะปฏิบัติตามสิ่งที่เราได้พบบรรดาบรรพบุรุษของเราเคยปฏิบัติมาเท่านั้น และแม้ได้ปรากฏว่าบรรพบุรุษของเขาไม่เข้าใจสิ่งใดเลย ทั้งไม่ได้รับการนำทางอีกก็ตาม”
(อัลบะเกาะเราะฮฺ : 170)
เมื่อมีการชักชวนให้มาสู่หนทางที่ถูกต้อง พวกเขาก็จะปฏิเสธพร้อมกับอ้างว่าเขาจะปฏิบัติตามที่ได้เห็นบรรพบุรุษปฏิบัติมาเท่านั้น ทั้งที่จริงแล้วบรรพบุรุษของเขานั้นมิได้เข้าใจและไม่ได้อยู่ในทางนำก็ตาม
อัลลอฮฺ I ตรัสว่า
(المائدة : 104)
ความว่า “และเมื่อได้ถูกกล่าวแก่พวกเขาว่า ท่านทั้งหลายจงมาสู่สิ่งที่อัลลอฮฺ ได้ทรงประทานลงมาเถิด และมาสู่เราะสูลด้วย พวกเขาก็กล่าวว่า เป็นการเพียงพอแล้วแก่เรากับสิ่งที่เราได้พบบรรพบุรุษของเราเคยกระทำกันมา ถึงแม้ได้ปรากฎว่าบรรพบุรุษของพวกเขาไม่เข้าใจสิ่งใดและทั้งไม่ได้รับคำแนะนำอีกด้วยกระนั้นหรือ”
(อัลมาอิดะฮฺ : 104)
เมื่อมีการชักชวนให้มาสู่หนทางที่ถูกต้องซึ่งเป็นหนทางแห่งอัลลอฮฺ I และเราะสูล r ของพระองค์ พวกเขาก็จะปฏิเสธพร้อมกับกล่าวว่าสิ่งที่บรรพบุรุษได้ปฏิบัติมานั้นเป็นการเพียงพอแล้วสำหรับเขาที่เขาจะยึดมาปฏิบัติ
อัลลอฮฺ I ตรัสว่า
(الأعراف : 28)
ความว่า “และเมื่อพวกเขากระทำสิ่งชั่วช้าน่ารังเกียจ พวกเขาก็กล่าวว่าพวกเราได้พบเห็นบรรดาบรรพบุรุษของพวกเราเคยกระทำมา และอัลลอฮฺก็ทรงใช้ให้พวกเรากระทำมันด้วย จงกล่าวเถิด(มุฮัมมัด) ว่าแท้จริงอัลลอฮฺนั้นไม่ทรงใช้ให้กระทำสิ่งชั่วช้าน่ารังเกียจดอก พวกเจ้าจะกล่าวให้ร้ายอัลลอฮฺในสิ่งที่พวกเจ้าไม่รู้กระนั้นหรือ”
(อัลอะอฺรอฟ : 28)
เมื่อพวกเขากระทำสิ่งที่ชั่วช้าน่ารังเกียจ พวกเขาก็จะเสกสรรการกระทำขึ้นมาด้วยการอ้างว่าเป็นการกระทำของบรรพบุรุษ และยังอ้างว่าเป็นคำสั่งของอัลลอฮฺ I อีกด้วย แต่ที่จริงแล้วอัลลอฮฺ I มิได้ทรงสั่งใช้ให้กระทำเลย แต่เป็นการที่พวกเขาได้ให้ร้ายแด่อัลลอฮฺ I เท่านั้นเอง
อัลลอฮฺ I ตรัสว่า
(لقمان : 21)
ความว่า “และเมื่อได้มีการกล่าวแก่พวกเขาว่าจงปฏิบัติตามสิ่งที่อัลลอฮฺได้ทรงประทานลงมา พวกเขากล่าวว่า แต่เราจะปฏิบัติตามสิ่งที่เราพบบรรพบุรุษของเราปฏิบัติในเรื่องนั้น อะไรกัน ถึงแม้ว่าชัยฏอนจะเรียกร้องพวกเขาสู่การลงโทษที่มีไฟลุกโชนอยู่กระนั้นหรือ”
(ลุกมาน : 21)
เมื่อมีการชักชวนให้มาสู่หนทางที่ถูกต้อง พวกเขาก็จะอ้างถึงว่าได้ปฏิบัติตามสิ่งที่บรรพบุรุษปฏิบัติกันมา ถึงแม้ว่าการกระทำนั้นจะเป็นการเรียกร้องจากชัยฏอนสู่ไฟนรกก็ตาม
1.2.1.2 3 อัลกุรอาน อัลลอฮ์อัลลอฮฺ I ทรงกล่าวไว้ในเรื่องของความสมบูรณ์ของศาสนา และห้ามการอุตริกรรมบัญญัติเรื่องใหม่ๆขึ้นมาในศาสนา
อัลลอฮ์อัลลอฮฺ I ตรัสว่า
(سورة المائدة بعض من الآية : 3)
ความว่า “...วันนี้ข้าได้ให้สมบูรณ์แก่พวกเจ้าแล้ว ซึ่งศาสนาของพวกเจ้า และข้าได้ให้ครบถ้วนแก่พวกเจ้าแล้ว ซึ่งความกรุณาเมตตาของข้า และข้าได้เลือกอิสลามให้เป็นศาสนาแก่พวกเจ้า...”
(ส่วนหนึ่งจากอายะฮฺที่ 3 อัลมาอิดะฮฺ สูเราะฮฺ: 3อัลมาอิดะฮฺ)
อัลลอฮฺ I ทรงยืนยันถึงความสมบูรณ์ของศาสนาอิสลามที่ท่านนบีมุฮัมมัด r ได้มาประกาศชั่วชีวิตของท่าน ซึ่งไม่สมควรที่จะเพิ่มเติมสิ่งใดที่อุตริกรรมเกินไปกว่าการนำมาประกาศของท่านนบีมุฮัมมัด r ในเรื่องของศาสนา เพื่อยืนยันถึงความสมบูรณ์ของศาสนาอิสลามตามคำตรัสดำรัสของอัลลอฮฺ I

อัลลอฮ์อัลลอฮฺ I ตรัสว่า
(سورة الشورى الآية : 21)

ความว่า “หรือว่าพวกเขามีภาคีต่างๆที่ได้กำหนดศาสนาแก่พวกเขา ซึ่งอัลลอฮ์อัลลอฮฺมิได้ทรงอนุมัติ และหากมิใช่ลิขิตแห่งการตัดสิน(ที่ได้กำหนดไว้ก่อนแล้ว) ก็คงได้มีการตัดสินในระหว่างพวกเขา แท้จริงบรรดาผู้อธรรมสำหรับพวกเขาได้รับการลงโทษอันเจ็บแสบ”
(อายะฮฺที่ 21 อัชชูรอ สูเราะฮฺ: 21อัชชูรอ)
อัลลอฮฺ I มิทรงพอใจในการมีส่วนร่วมของผู้ใด ที่จะมากำหนดพิธีกรรมใหม่ๆ ขึ้นมาในศาสนาของพระองค์ โดยที่พระองค์มิได้ทรงสั่งใช้ในการกระทำนั้นๆ ซึ่งเขาผู้นั้นจะได้รับการลงโทษอย่างเจ็บแสบในวันอาคิเราะฮฺ
1.2.


2. อัลหะดีษ

จากการศึกษาอัลหะดีษที่เกี่ยวเนื่องกับความเชื่อความศรัทธา และประเพณีต่างๆ พบว่ามีอัลหะดีษจำนวนมากที่กล่าวถึงหลักความเชื่อและความศรัทธาซึ่งสนับสนุนหลักการและแนวคิดที่ปรากฏในคัมภีร์อัลกุรอาน และยังได้อธิบายขยายความบางโองการอายะฮฺอัลกุรอานให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น หนังสือหรือตำราหะดีษที่แพร่หลายส่วนมากได้รวบรวมหะดีษที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อความศรัทธาไว้เป็นบทหนึ่งเลย เช่น เศาะอเหี้ยะห์หี้หฺบุคอรีย์ ศอเหี้ยะห์เศาะหี้หฺมุสลิม สุนันอัตติรมีซีย์ สุนันนะสาอีย์ หนังสือเหล่านี้ได้รวบรวมไว้เป็นบทหนึ่ง โดยตั้งชื่อว่า “กิตาบุ้ลอีมาน”
หะดีษที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อความศรัทธามิได้จำกัดอยู่ในบทที่เกี่ยวกับความศรัทธาเท่านั้น แต่ว่ายังปรากฏอยู่ในบทอื่นๆ ด้วยเกือบทุกบท เช่น ในศอเหี้ยะห์เศาะหี้หฺบุคอรีย์ ปรากฏอยู่ในกิตาบุศศอลาฮฺ (บทที่ว่าด้วยเรื่องการละหมาด) กิตาบุ้ลฮัจญ์ (บทที่ว่าด้วยการทำฮัจญ์) ในสุนันนะสาอีย์ ปรากฏในกิตาบุลญะนาอิซ (บทที่ว่าด้วยการทำศพ) กิตาบุลฟิตัน (บทที่ว่าด้วยความวิกฤติการณ์) เป็นต้น ทั้งนี้เนื่องจากว่าหะดีษที่เกี่ยวกับความเชื่อความศรัทธามักพูดถึงเรื่องอื่นควบคู่ไปด้วยเสมอ เช่น การละหมาด การถือศีลอด การทำฮัจญ์ เป็นต้น
การที่มีหะดีษที่เกี่ยวกับความเชื่อความศรัทธาปรากฏอยู่ทั่วไปไม่จำกัดอยู่เฉพาะใน “กิตาบุลอีมาน” ก็ดี หรือการที่หะดีษกล่าวถึงเรื่องอีมานควบคู่ไปกับเรื่องอื่นในหะดีษบทเดียวกันก็ดี ย่อมแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของความศรัทธาและพฤติกรรมในทุก ๆ ด้านของมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการประกอบคุณงามความดีจำเป็นจะต้องอยู่บนพื้นฐานของความศรัทธา ดังปรากฏใน หะดีษของท่านเราะสูล นบีนบีมุฮัมมัด r มากมาย ดังต่อไปนี้

1.2.2.1 ความเชื่อความศรัทธาเป็นรากฐานของอิสลามและพฤติกรรมที่ดีงามทั้งปวงของมนุษย์ ท่านเราะสูล นบีนบีมุฮัมมัด r กล่าวว่า

((بني الإسلام على خمس شهادة أن لا إله إلا الله وأن محمدا عبده ورسوله وإقام الصلاة وإيتاء الزكاة وحج البيت وصوم رمضان))
(البخاري، 1987 : 8)


ความว่า “อิสลามถูกก่อตั้งอยู่บนพื้นฐานห้าประการ คือ (1) การปฏิญาณตนว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดที่เที่ยงแท้นอกจากอัลลอฮ์อัลลอฮฺ และแท้จริงมุฮัมหมัดเป็นบ่าวและเป็นเราะสูล นบีนบีมุฮัมมัด (ศาสนฑูต) ของพระองค์ และ (2) ดำรงไว้ซึ่งการละหมาด และ (3) การบริจาคซะกาต และ (4) การประกอบพิธีฮัจญ์ ณ. บัยตุ้ลลอฮฺ และ (5) การถือศีลอดในเดือนรอมฎอน”
(al-Bukhary, 1987 : 8)
อิสลามมีพื้นฐานในการประกอบคุณงามความดีอยู่ 5 ประการโดยประการสำคัญประการแรกคือการที่ต้องมีความเชื่อที่ถูกต้อง แสดงให้เห็นว่าอิสลามให้ความสำคัญกับความเชื่อมาก เหนือการกระทำอื่นใด







ท่านเราะสูล นบีนบีมุฮัมมัด r กล่าวว่า :
((عجبا لأمر المؤمن . إن أمره كله خير . وليس ذاك لأحد إلا للمؤمن.إن أصابته سراء شكر . فكان خيرا له . وإن أصابته ضراء صبر . فكان خيراعجبت لأمر المؤمنين إن أمره كله خير إن أصابه ما يحب حمد الله وكان له خير وإن أَصابه ما يكره فصبر كان له خير وليس كل أحد أمره كله له خير إلا المؤمن))< (مسلم، 1972 : 2999) ความว่า “ฉันรู้สึกน่าปประทับใจอย่างยิ่งต่อกรณีของผู้ศรัทธาที่การงานทั้งหมดของเขาล้วนเป็นความดี และจะไม่เกิดขึ้นกับผู้อื่น นอกจากผู้ศรัทธา (กล่าวคือ) ถ้าหากมีสิ่งที่เขาปรารถนามาประสบกับเขา เขาก็สรรเสริญอัลลอฮ์อัลลอฮฺและความดีก็เป็นของเขา และถ้าหากมีสิ่งที่เขาไม่ปรารถนามาประสบกับเขา เขาก็อดทนความดีก็เป็นของเขาและใช่ว่าการงานทั้งหมดของทุกคนจะเป็นความดีสำหรับเขา นอกจากผู้ศรัทธา” (Muslim, 1972 : 2999) การกระทำของผู้ใดๆ ที่จะได้รับการตอบแทนจากอัลลอฮฺ I นั้นต้องมีเงื่อนไขหลักคือการที่ต้องมีความศรัทธาและมีความเชื่อที่ถูกต้อง ท่านเราะสูล นบีนบีมุฮัมมัด r กล่าวว่า ((لا يدخل النار أحد في قلبه مثقال حبة خردل من إيمان...ولا يدخل النار من كان في قلبه مثقال خردل من إيمان الحديث)) (مسلم، 1986 : 91) ความว่า “...และจะไม่ได้เข้านรกสำหรับผู้ที่หัวใจของเขามีความศรัทธาเพียงเท่าเมล็ดผักกาด” (Muslim, 1986 : 91) ผู้ใดที่มีความศรัทธาและความเชื่อที่ถูกต้องในหัวใจของเขาแล้ว เขาก็จะถูกปกป้องให้พ้นจากไฟนรก ท่านเราะสูล นบีนบีมุฮัมมัด r ได้กล่าวตอบคำถามของท่านหญิงอาอีชะฮฺเกี่ยวกับคุณงามความดีของอิบนุ ญุดอานซึ่งเป็นผู้ไร้ศรัทธาในยุคญาฮีลียะฮฺว่า ((...يا رسول الله ! ابن جدعان . كان في الجاهلية يصل الرحم ويطعم المسكين فهل ذاك نافعه ؟ قال " لا ينفعه إنه لم يقل يوما : رب اغفر لي خطيئتي يوم الدين"لا ينفعه إنه لم يقل يوما رب اغفر لي خطيئتي يوم الدين))[5]
(مسلم، 1972 : 214)

ความว่า “...(การกระทำดังกล่าวนั้น (คือการโอ้เราะสูล! ติอิบนุ ญุดอานได้ติดดต่อสัมพันธ์เครือญาติและให้อาหารแก่คนขัดสนในยุคก่อนอิสลาม (ญาฮีลียะฮฺ)) จะไม่ยังประโยชน์อันใดแก่เขาหรือ? (อิบนุ ญุดอาน)ท่านเราะสูลตอบว่า “จะไม่ยังประโยชน์แก่เขา ใดๆทั้งสิ้น แท้จริงเขาไม่เคยกล่าวในวันใดเลยว่า โอ้พระผู้ทรงอภิบาลของข้าพระองค์ โปรดอภัยในความผิดแก่ข้าพระองค์ในวันแห่งการตอบแทนด้วยเถิด”
(Muslim, 1972 : 214)
จะเห็นได้ว่าถึงแม้ว่าจะกระทำความดีมากมายเพียงใด แต่ถ้าขาดความศรัทธาและความเชื่อที่ถูกต้องแล้วการงานของเขาก็จะไม่ได้รับผลตอบแทนอันใด

1.2.2.2 ท่านเราะสูล นบีนบีมุฮัมมัด r ได้กล่าวไว้ถึงการปฏิบัติสิ่งใหม่ๆขึ้นมาในศาสนา โดยที่ไม่มีแบบอย่างจากท่าน ได้แก่








ท่านเราะสูล นบีนบีมุฮัมมัด r กล่าวว่า
((وإياكم ومحدثات الأمور ؛ فإن كل محدثة بدعة ، وكل بدعة ضلالة))[6]
(أبو داود، 1986 : 4607)
ความว่า “ท่านทั้งหลายจงระวังการงานใหม่ๆ(ที่เกิดขึ้นในศาสนา) เพราะแท้จริงทุกๆ การงานใหม่ๆ นั้นคือบิดอฺะฮฺ และทุกๆ บิดอฺะฮฺนั้นคือการหลงผิด”
(Abu Dawud, 1986 : 4607)
ท่านนบีมุฮัมมัด r ได้เตือนให้ระวังจากการกระทำสิ่งใหม่ๆในเรื่องศาสนาที่ไม่มีแบบอย่างจากท่าน เนื่องจากการกระทำดังกล่าวนั้นเป็นการหลงผิดอย่างชัดเจน

ท่านนบีมุฮัมมัด r กล่าวว่า
((إن أصدق الحديث كتاب الله ، وأحسن الهدي هدي محمد ، وشر الأمور محدثاتها ، وكل محدثة بدعة وكل بدعة ضلالة وكل ضلالة في النار))[7]
(النسائي، 1964 : 3/188)
ความว่า “แท้จริงคำพูดที่ดีที่สุดนั้นคือคัมภีร์ของอัลลอฮฺ แบบอย่างที่ดีที่สุดนั้นคือแบบอย่างของมุฮัมมัด r การงานที่ต่ำทรามที่สุดนั้นคือการงานที่เกิดขึ้นใหม่ ทุกๆ สิ่งใหม่นั้นคือบิดอฺะฮฺ ทุกๆ บิดอฺะฮฺนั้นคือการหลงผิด และทุกๆ การหลงผิดนั้นจะอยู่ในนรก”
(al-Nasa’i, 1964 : 3/188)
ผู้ที่มีความเชื่อถูกต้อง จะปฏิบัติตามคำสั่งใช้ของอัลลอฮฺ I และดูแบบอย่างจากท่านนบีมุฮัมมัด r เท่านั้น กอปรกับการที่เขานั้นจะหลีกเลี่ยงจากการงานที่ไม่ถูกต้อง กล่าวคือการงานที่เกิดขึ้นใหม่ในศาสนาโดยไม่มีแบบอย่างจากท่านนบี r
1.2.นบี 2.3 ท่านเราะสูล นบีนบีมุฮัมมัด r ได้กล่าวไว้ถึงการปฏิเสธการงานของผู้ที่ทำบิดอฺะฮฺ หรือการงานใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นในศาสนา
ท่านนบีมุฮัมมัด r กล่าวว่า
((من أحدث في أمرنا هذا ما ليس منه فهو رد))[8]
(مسلم، 1972 : 1718)
ความว่า “ผู้ใดกุเรื่องใหม่ๆซึ่งไม่ได้อยู่ในกิจการของเรา กิจการนั้นก็ถูกโยนกลับ”
(Muslim, 1972 : 1718)
ท่านนบีมุฮัมมัด r กล่าวว่า
((من عمل عملاً ليس عليه أمرنا فهو رد))[9]
(مسلم، 1972 : 1718)
ความว่า “บุคคลใดที่ทำการงานใดๆ โดยไม่มีแบบอย่างจากเราในงานนั้น สิ่งนั้นจะถูกโยนกลับ”
(Muslim, 1972 : 1718)

นบี นบี

ท่านเราะสูล r กล่าวว่า

((من أحدث في أمرنا هذا ما ليس فيه فهو رد))[10]

ความว่า “ผู้ใดคิดเรื่องใดขึ้นใหม่ซึ่งไม่ได้อยู่ในกิจการของเรา กิจการนั้นก็ถูกกลับ”


ท่านเราะสูล นบี r กล่าวว่า

((أبى الله أن يقبل عمل صاحب بدعة حتى يدع بدعته))[11]

ความว่า “อัลลอฮ์ทรงปฏิเสธที่จะรับการงานของพวกอุตริกรรม(สิ่งใหม่ๆในศาสนา)จนกว่าเขาจะละทิ้งสิ่งอุตริกรรมของเขา”
ถ้าผู้ใดที่ทำสิ่งใหม่ขึ้นมาในเรื่องศาสนา โดยไม่มีแบบอย่างจากท่านนบีมุฮัมมัดr สิ่งนั้นจะไม่ได้รับการตอบแทนใดๆ ทั้งสิ้นจากอัลลอฮฺ I


1.2.

3. เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

1.2.3.1 เอกสาร

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (2533) ได้เขียนเอกสารประกอบการสอนชุดวิชาความเชื่อและศาสนาในสังคมไทย ได้กล่าวถึงความเชื่อ และศาสนาที่มีอยู่ในสังคมไทย ความเชื่อและประเพณีในวิถีชีวิตชุมชน ความเชื่อ พิธีกรรมของชาวเขาในประเทศไทย ไสยศาสตร์ในสังคมไทย การให้ความสำคัญกับฤกษ์ยาม โหราศาสตร์ และความเชื่อ พิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับอำนาจเหนือธรรมชาติ เป็นต้น

ประพนธ์ เรืองณรงค์ (2540) ได้เขียนหนังสือเรื่องสมบัติไทยมุสลิมภาคใต้ การศึกษาคติชาวบ้านไทยมุสลิมจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ได้กล่าวเกี่ยวกับประเพณีต่าง ๆ ของชาวมุสลิมบางอย่างเป็นไปตามหลักการศาสนา และบางอย่างอาจได้รับอิทธิพลจากศาสนาพราหมณ์หรือศาสนาพุทธ ชาวบ้านในท้องถิ่นนั้นๆ ยังยึดถือปฏิบัติสืบเป็นประเพณี ประเพณีของชาวไทยมุสลิมภาคใต้ที่มีความเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน

พระยาอนุมานราชธน (2505) ได้เขียนหนังสือเรื่องประเพณีเนื่องในการเกิดและประเพณีเนื่องในการตาย ได้กล่าวถึงประเพณีต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับชีวิตประจำวันของชาวพุทธศาสนา เช่น การตั้งครรภ์ เมื่อคลอดบุตร การอยู่ไฟ ความเชื่อเรื่องเกี่ยวกับเด็กในเรื่องแม่ซื้อ ทำขวัญและทำบุญโกนผมไฟ การเผาศพ เป็นต้น ประเพณีต่างๆ ที่กล่าวมาแล้วข้างต้น บางส่วนคล้ายคลึงกับการปฏิบัติของชาวมุสลิมทั้ง ๆ ที่ศาสนาอิสลามนั้นไม่ปรากฏอยู่ในหลักคำสอน

เสาวนีย์ จิตต์หมวด (2535) ศึกษาเรื่อง วัฒนธรรมอิสลาม ได้กล่าวถึงวัฒนธรรมและประเพณีต่างๆ ที่ปรากฏในสังคมมุสลิมในประเทศไทย ซึ่งวัฒนธรรมและประเพณีบางอย่างตั้งอยู่บนพื้นฐานของศาสนา และบางอย่างได้นำเอามาจากศาสนาอื่นๆ เช่น ศาสนาพุทธ และพราหมณ์ เป็นการเลียนแบบทางวัฒนธรรมซึ่งในอิสลามถือว่าการเลียนแบบในสิ่งที่ขัดต่อหลักการของศาสนานั้นจะปฏิบัติมิได้เป็นอันขาด จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะละทิ้งประเพณีต่างๆ ที่ขัดกับหลักการของศาสนาอิสลามถึงแม้ว่ามันจะเป็นการสวนกระแสของสังคมก็ตาม




1.2.3.2 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

เชาวน์ฤทธิ์ เรืองปราชญ์ (2547) ได้ทำวิจัยเรื่อง “ความเชื่อและประเพณี ฉวีวรรณ วรรณประเสริฐ และคณะ. (2524) ได้ทำการวิจัยเรื่องประเพณีที่ช่วยส่งเสริมการผสมผสานทางสังคมระหว่างชาวไทยพุทธกับชาวไทยมุสลิม ได้กล่าวถึงประเพณีการทำบุญของชาวมุสลิมใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือปัตตานี ยะลา นราธิวาส บางส่วนตั้งอยู่บนพื้นฐานของศาสนาอิสลาม และบางส่วนได้รับอิทธิพลจากศาสนาพราหมณ์และพุทธ อันเนื่องมาจากก่อนที่อิสลามจะเข้ามาในดินแดนส่วนนี้ บุคคลที่อาศัยอยู่ในที่นี้นับถือศาสนาพราหมณ์และพุทธ เมื่ออิสลามเข้ามาเผยแพร่ผู้คนก็เปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลาม ความเชื่อพฤติกรรมดั้งเดิมบางส่วนยังคงไม่หมดไป แต่มีการผสมผสานระหว่างศาสนาเดิมกับศาสนาอิสลาม เช่น การทำบุญ 3 วัน 7 วัน 10 วัน 40 วัน 100 วัน ให้กับผู้ตาย การเชื่อในเรื่องโหราศาสตร์โดยการตรวจดวงชะตา การถือฤกษ์ ยามเพื่อใช้ในการปฏิบัติต่าง ๆ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นพฤติกรรมที่ได้รับอิทธิพลจากศาสนาพราหมณ์และพุทธ ในการทำบุญของชาวมุสลิมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา” พบว่า ความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับการทำบุญในบางประเภทมีบางส่วนมีความเชื่อที่ขัดแย้งกับหลักการอิสลาม และบางส่วนที่ถูกต้อง และในการทำบุญก็เช่นเดียวกัน การทำบุญบางชนิดถูกต้องตามบทบัญญัติ และบางชนิดไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติของอิสลาม

นิรันดร์ ขันธวิธิ (2542)ได้ทำวิจัยเรื่อง “ความเชื่อ และการปฏิบัติทางศาสนาของชาวมุสลิมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบลักษณะแนวความเชื่อและการปฏิบัติทางศาสนาของชาวมุสลิมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาใน 6 ประเด็น ได้แก่ ทรรศนะต่อหลักปฏิบัติตามแบบอบ่างของศาสดา (ซุนนะฮฺ) ทรรศนะและวิธีปฏิบัติต่อผู้นำ (ฏออะฮฺ) วิธีขอพร (ดุอาอฺ) พิธีศพ (ญะนาซะฮฺ) โอวาทก่อนการละหมาดวันศุกร์ (คุฏบะฮฺ) การฉลองวันคล้ายวันประสูติของศาสดา (เมาลิด) กลุ่มที่ศึกษามีสี่กลุ่มประกอบด้วย กลุ่มแนวจุฬาราชมนตรี กลุ่มแนวกีแซะฮฺภูเขาทอง กลุ่มแนวดะฮฺวะฮฺ กลุ่มแนวครูฟอวัดโคก ใช้วิธีการศึกษาโดยการค้นคว้าข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง สัมภาษณ์ และสังเกตแบบมีส่วนร่วม และไม่มีส่วนร่วม
พบว่าประชากรที่ศึกษาทุกกลุ่มมีความศรัทธาร่วมกันในหลักคำสอนของศาสนาและแหล่งที่มาของคำสอนจากคัมภีร์ทางศาสนา คือ อัลกุรอาน และสุนนะฮฺรวมทั้งหลักนิติศาสตร์อิสลาม ความแตกต่างที่ปรากฏอยู่เป็นข้อปฏิบัติปลีกย่อย ซึ่งแต่ละกลุ่มได้รับอิทธิพลจากผู้นำทางศาสนา การยึดมั่นในผู้นำทางศาสนา และการยอมรับวัฒนธรรมท้องถิ่น น่าจะเป็นปัจจัยสำคัญ ทำให้การตีความศาสนาโดยผู้นำ วัฒนธรรมท้องถิ่นมาประกอบ และถ่ายทอดสืบต่อกันมาโดยผ่านผู้นำทางศาสนาจนเกิดกลุ่มความเชื่อที่มีลักษณะเด่นจำเพาะต่าง ๆ และดำรงอยู่ร่วมกันเป็นพหุสังคมในจังหวัดอยุธยา

ศรีสมภพ จิตรภิรมย์ศรี (2545 : 138) ได้ทำวิจัยเรื่อง “ความเชื่อ พิธีกรรมและประเพณีในชุมชนทรายขาว อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี” พบว่า ลักษณะการประกอบอาชีพของชาวบ้านนำไปสู่ความเชื่อในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และนำไปสู่รูปแบบของการเกิดพิธีกรรมต่างๆ ขึ้น เช่น พิธีไหว้เจ้าที่ในสวนผลไม้ หรือมีพิธีกรรมอย่างอื่น เช่น การไหว้เจ้าที่นา แม่โพสพหรือการทำขวัญ เป็นพิธีกรรมที่แสดงออกถึงความเคารพในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่อยู่ในผืนนา โดยเมื่อเก็บเกี่ยวเสร็จก็นำไปแจกญาติผู้ใหญ่ แล้วนำข้าวมาหุงรวมกันเพื่อนำไปทำบุญ ในทางศาสนาอิสลามจะนำข้าวมารวมกันที่มัสยิดและหุงข้าวรวมกันเรียกว่า “การทำบุญองค์อัลลอฮ์อัลลอฮฺ”

ฉวีวรรณ วรรณประเสริฐ และคณะ (2524) ได้ทำวิจัยเรื่อง “ประเพณีที่ช่วยส่งเสริมการผสมผสานทางสังคมระหว่างชาวไทยพุทธกับชาวไทยมุสลิม” พบว่าประเพณีการทำบุญของชาวมุสลิมใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือปัตตานี ยะลา นราธิวาส บางส่วนตั้งอยู่บนพื้นฐานของศาสนาอิสลาม และบางส่วนได้รับอิทธิพลจากศาสนาพราหมณ์และพุทธ อันเนื่องมาจากก่อนที่อิสลามจะเข้ามาในดินแดนส่วนนี้ บุคคลที่อาศัยอยู่ในที่นี้นับถือศาสนาพราหมณ์และพุทธ เมื่ออิสลามเข้ามาเผยแพร่ผู้คนก็เปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลาม ความเชื่อพฤติกรรมดั้งเดิมบางส่วนยังคงไม่หมดไป แต่มีการผสมผสานระหว่างศาสนาเดิมกับศาสนาอิสลาม เช่น การทำบุญ 3 วัน 7 วัน 10 วัน 40 วัน 100 วัน ให้กับผู้ตาย การเชื่อในเรื่องโหราศาสตร์โดยการตรวจดวงชะตา การถือฤกษ์ ยามเพื่อใช้ในการปฏิบัติต่าง ๆ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นพฤติกรรมที่ได้รับอิทธิพลจากศาสนาพราหมณ์และพุทธ
[1] คุณงามความดี
[2] หะดีษบันทึกโดย al-Bukhary, 1987 หะดีษหมายเลข : 1271 8 ; และMuslim, 1972 หะดีษหมายเลข : 480316 (สำนวนที่อ้างเป็นของ al-Bukhary) , หะดีษอยู่ในระดับเศาะหี้หฺ
[3] หะดีษบันทึกโดย Muslim, 1972 หะดีษหมายเลข : 29995318 ; Ahmad, 1980 หะดีษหมายเลข : 22804 และal-Darimi หมายเลข 2658 (สำนวนที่อ้างเป็นของ MuslimAhmad) หะดีษอยู่ในระดับเศาะหี้หฺ
[4] ส่วนหนึ่งของหะดีษที่บันทึกโดย Muslim, 1972 : 91 ; AbudawudAbu Dawud, 1986 หะดีษหมายเลข : 3568 ; al-Tirmizi, 1983 หะดีษหมายเลข : 1921 และAhmad, 1980 หะดีษหมายเลข : 3718 (สำนวนที่อ้างเป็นของ MuslimAbudawud) หะดีษอยู่ในระดับเศาะหี้หฺ
[5] เป็นส่วนหนึ่งของหะดีษที่บันทึกโดย Muslim, 1972 หะดีษหมายเลข : 214315
[6] อ้างแล้ว, หน้า 5
[7] อ้างแล้ว, หน้า 5
[8] อ้างแล้ว, หน้า 4
[9] อ้างแล้ว, หน้า 4
[10] หะดีษบันทึกโดย Abudawud, บทที่ ๓๙ กิตาบุสสุนนะห์ บาบที่ ๖
[11] หะดีษบันทึกโดย อิบนิมาญะห์ บทที่ ๑ บาบที่ ๗

1.1 ความเป็นมาของปัญหาและปัญหา

ความศรัทธาของอิสลามที่ท่านเราะสูล นบีนบีมุฮัมมัด[1] r ได้ปลูกฝังให้กับบรรดาเศาะหาบะฮฺของท่าน ตลอดจนบรรดาผู้ที่มีความศรัทธาในอิสลามเริ่มจางลงตามกาลเวลาที่ผ่านไปหลายศตวรรษ ซึ่งบรรดาผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามมากมายในปัจจุบัน ได้รับมรดกทางความเชื่อจากผู้ที่เป็นบิดามารดาเท่านั้นเอง
ในทางกลับกันยังมีผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามอีกไม่น้อยที่มีความเชื่อบิดเบือนไปจากบทบัญญัติที่แท้จริงของอิสลาม มีความเชื่อผิดๆคิดว่าหลายสิ่งหลายอย่างเป็นการกระทำที่เป็นแบบอย่างของท่านเราะสูล นบีนบีมุฮัมมัด r เป็นเรื่องศาสนาที่แม้ตัวของท่านนบี r เราะสูล นบี เองก็มิเคยรู้จัก
ในสิ่งหนึ่งที่มุสลิมทุกคนควรให้ความสำคัญมากที่สุด และควรทุ่มเทเวลาของเขาให้กับมันคือการปฏิบัติตามสุนนะห์ของท่านนบี r อย่างเป็นนิจ และพยายามให้เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของเขาที่ขาดไม่ได้เท่าที่มีความสามารถ ไม่ว่าสุนนะห์ดังกล่าวจะเป็นเพียงสิ่งที่ไม่ถูกบังคับก็ตาม เพราะจากการปฏิบัติตามดังกล่าว จะทำให้เขาได้รับฮิดายะห์[2] อันนำไปสู่ความโปรดปรานของอัลลอฮ์ I และความผาสุกในชีวิตทั้งโลกนี้และโลกหน้า
ที่น่าเสียใจเป็นอย่างยิ่งก็คือ ยังมีมุสลิมอีกจำนวนมากที่ไม่เห็นถึงความสำคัญของสุนนะห์ และมองว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย ที่ใครจะปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติก็ได้แล้วแต่ใครชอบ
ในทางกลับกันยังมีผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามอีกไม่น้อยที่มีความเชื่อบิดเบือนไปจากสุนนะห์ของท่านเราะสูล r มีความเชื่อผิดๆคิดว่าหลายสิ่งหลายอย่างเป็นการกระทำที่เป็นสุนนะห์ของท่านเราะสูล r
พวงทอง ป้องภัย (2540 : 3) ได้ให้ทัศนะเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อกับพฤติกรรมของมนุษย์ว่า

“ความเชื่อเป็นพฤติกรรมภายในที่เป็นนามธรรมซึ่งบุคคลภายนอกไม่สามารถจะมองเห็นได้ เป็นคุณสมบัติที่มีความสำคัญต่อคน เพราะมันทำให้คนเหนือกว่าสัตว์ พฤติกรรมภายในของคนมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมภายนอกที่แสดงออกมา มนุษย์จะแสดงพฤติกรรมภายในและพฤติกรรมภายนอกตั้งแต่เกิดจนตาย”

จากคำกล่าวข้างต้นสอดคล้องกับทัศนะของโรคีช (Roceach : 1970, อ้างถึงในประภาเพ็ญ สุวรรณ, 2520 : 2) ว่า “ความเชื่อเป็นสิ่งที่ก่อให้บุคคลกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ถ้าได้รับการกระตุ้นอย่างเหมาะสม” เมื่อมนุษย์ส่วนมากมีความเชื่อถือศรัทธาในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ก็จะแสดงพฤติกรรมและปฏิบัติในสิ่งที่สอดคล้องกับสิ่งที่ตนเชื่อถือและศรัทธา อันเป็นสิ่งบ่งบอกถึงการยอมรับต่อสิ่งนั้นๆ จนเป็นผลให้เกิดการแสดงพฤติกรรมออกมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าได้รับการส่งเสริมจากผู้รู้ทางศาสนาในสังคม และเป็นการกระทำที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ เขาก็จะปฏิบัติสิ่งนั้นอย่างเต็มใจพร้อมกับปฏิเสธสัจธรรมที่มาสู่ตัวของเขา ดังคำดำรัสของอัลลอฮฺ I ที่ปรากฎอยู่ในพระมหาคัมภีร์อัลกุรอานว่า

#sŒÎ)ur) Ÿ@ŠÏ% ãNßgs9 (#qãèÎ7®?$# !$tB tAt“Rr& ª!$# (#qä9$s% ö@t/ ßìÎ6®KtR !$tB $uZø‹xÿø9r& Ïmø‹n=tã !$tRuä!$t/#uä 3 öqs9urr& šc%x. öNèdät!$t/#uä Ÿw šcqè=É)÷ètƒ $\«ø‹x© Ÿwur tbr߉tGôgtƒ (
(البقرة : 170)
ความว่า “และเมื่อได้ถูกกล่าวแก่พวกเขาว่า จงปฏิบัติตามสิ่งที่อัลลอฮฺได้ทรงประทานลงมาเถิด พวกเขาก็กล่าวว่า มิได้ดอก เราจะปฏิบัติตามสิ่งที่เราได้พบบรรดาบรรพบุรุษของเราเคยปฏิบัติมาเท่านั้น และแม้ได้ปรากฏว่าบรรพบุรุษของเขาไม่เข้าใจสิ่งใดเลย ทั้งไม่ได้รับการนำทางอีกก็ตาม”
(อัลบะเกาะเราะฮฺ : 170)

ในบางครั้งการที่ได้ทำพิธีกรรมต่างๆที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ อาจทำให้รู้สึกว่าได้ปฏิบัติตามครรลองที่ถูกยอมรับในสังคมแล้ว ถึงแม้ว่าสิ่งนั้นมันไม่มีในบทบัญญัติของอิสลามก็ตาม ก็จะต้องรักษาสิ่งนั้นไว้ เนื่องจากเป็นความเชื่อที่ฝังลึกจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของความศรัทธาแล้ว
ความศรัทธาในศาสนา เป็นหลักความเชื่อที่มุสลิมทุกคนต้องยึดมั่น แต่เนื่องจากในระยะแรกยังไม่มีผู้นำคำอธิบายทางศาสนารู้หรือนักวิชาการที่สามารถขจัดแนวความเชื่อเดิมได้จึงทำให้ความเชื่อเกี่ยวกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ผีสาง นางไม้ ฤกษ์ยาม (พิทยา บุษรารัตน์ และสมปอง ยอดมณี, 2544 : 95) ความเชื่อในเรื่องวิญญาณท้องถิ่น[3] การปฏิบัติทางมายาศาสตร์[4] ยังปรากฏให้เห็นได้ในประเพณี และพฤติกรรมต่าง ๆ ของสังคม เมื่อกลุ่มชนในสังคมหันมานับถือศาสนาอิสลาม ความเชื่อและการปฏิบัติดั้งเดิมไม่ได้หมดไปเสียทีเดียว แต่ได้มีการผสมผสานกลมกลืนกับศาสนาอิสลามที่เข้ามาในพื้นที่ และได้มีการปฏิบัติจนถึงปัจจุบัน (สนิทร สมัครการ, 2539: 65)
ความเชื่อนั้นมีการปลูกฝังต่อกันมาหลายชั่วอายุคน หากคนหนึ่งคนใดในสังคมไม่เจริญรอยตามในสิ่งที่สังคมได้ปฏิบัติกันมาผู้นั้นย่อมไม่เป็นที่ต้องการของสังคมดังที่สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์ (2542 : 984) ได้กล่าวว่า

“ความเชื่อเป็นวัฒนธรรมพื้นบ้านประเภทหนึ่ง ซึ่งมักมีอิทธิพลต่อแนวคิด และพฤติกรรมของชาวบ้านกลุ่มนั้นอย่างลึกซึ้ง เพราะการสืบทอดความเชื่อมีการปลูกฝังสืบต่อกันมาหลายชั่วคน ผู้ให้การสืบทอดล้วนแต่ยึดถือปฏิบัติให้ประจักษ์ชัดเป็นต้นแบบอย่างกว้างขวางและมั่นคง และล้วนมีเจตนาที่จะปลูกฝังให้ผู้สืบสันดานเจริญรอยอย่างเคร่งครัด มักเป็นเงื่อนไขในการอยู่รวมกัน ผู้ปฏิบัติตามย่อมเป็นที่ยอมรับของคณาญาติและสังคม ส่วนผู้ฝ่าฝืนย่อมไม่เป็นที่ปรารถนา การปลูกฝังความเชื่อล้วนมีขึ้นนับแต่วินาทีแรกของผู้สืบต่อเริ่มเป็นสมาชิกใหม่ของสังคมนั้น ๆ การบ่มเพาะจึงเป็นการตัดแต่งไม้อ่อนให้ค่อยปรับเปลี่ยนตาม และเพิ่มพูนขึ้นจนกลายเป็นผู้สืบสันดานให้แก่คนรุ่นต่อ ๆ ไป”

เมื่อความเชื่อได้ถูกปลูกฝังมาพร้อมกับการปฏิบัติจนได้กลายมาเป็นพิจากความเชื่อที่เกิดขึ้นในสังคมทำให้เกิดประเพณีต่าง ๆ ตามความเชื่อเหล่านั้น ซึ่งสังคมที่มีความเชื่อแตกต่างกัน ก็ย่อมมีประเพณีที่แตกต่างกัน
คำว่าประเพณีตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน (พ.ศ. 2525 : 501) หมายถึง สิ่งที่นิยมถือประพฤติปฏิบัติสืบๆ กันมาจนเป็นแบบแผน ขนบธรรมเนียม หรือจารีตประเพณี (สมชัย ใจดี และยรรยง ศรีวิริยาภรณ์, 2534 : 6-7) ได้กล่าวว่า ประเพณี คือ ความประพฤติที่คนส่วนใหญ่ปฏิบัติต่อกันมาจนเป็นแบบอย่างเดียวกัน เป็นระเบียบแบบแผนที่จะเห็นว่าถูกต้องหรือเป็นที่ยอมรับของคนส่วนใหญ่ และปฏิบัติสืบต่อกันมา เช่น ประเพณีที่เกี่ยวข้องกับการเกิด หรือหมั้น แต่งงาน ตาย เป็นต้น
ประเพณีเกิดจากสภาพสังคม ธรรมชาติ ทัศนคติ เอกลักษณ์ ค่านิยม และความเชื่อของคนในสังคมต่อสิ่งที่มีอำนาจเหนือมนุษย์ เช่น อำนาจของดินฟ้าอากาศและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุต่างๆ ฉะนั้นเมื่อเวลาเกิดภัยพิบัติขึ้น มนุษย์จึงต้องอ้อนวอนร้องขอในสิ่งที่ตนคิดว่าช่วยได้ เมื่อภัยพิบัตินั้นผ่านไป มนุษย์ก็แสดงความรู้คุณต่อสิ่งนั้นๆ ด้วยการประกอบพิธีบูชา หรือการทำบุญเพื่อเป็นสิริมงคล ตามความเชื่อความรู้ของตนที่มีอยู่ เมื่อความประพฤตินั้นคนในสังคมส่วนรวมถือปฏิบัติกันเป็นธรรมเนียมหรือเป็นระเบียบแบบแผน และปฏิบัติต่อกันมา การปฏิบัติดังกล่าวจึงกลายเป็นประเพณีของสังคมนั้น (สมปราชญ์ อัมมะพันธ์, 2536 :18)ธีกรรม ซึ่งเป็นการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งตามค่านิยม ทัศนคติ ความคิด และความเชื่อ โดยเข้าใจว่าการกระทำอย่างนั้นย่อมมีผลตอบสนอง ทำให้คนได้รับประโยชน์ตามที่คาดหวังเอาไว้ ทำแล้วมีผลทำให้จิตใจเบิกบาน เป็นสุขที่เรียกว่า ได้บุญได้กุศล พิธีกรรมจึงเป็นสิ่งที่มนุษย์สมมุติขึ้นเพื่อให้เกิดความสบายใจแก่ตัวเอง
พิธีกรรมต่างๆ ที่ปฏิบัติกันอยู่ทั้งในอดีต ตลอดมาจนถึงปัจจุบันนี้ ในระยะแรกไม่เกี่ยวกับศาสนา แต่เมื่อเกิดมีศาสนาขึ้น จึงมีผู้นำเอาพิธีกรรมเข้าไปเกี่ยวข้องกับศาสนา อาจเพื่อให้เกิดความศรัทธา ขลัง ศักดิ์สิทธิ์ ฯลฯ ส่วนมากเป็นพิธีกรรมของศาสนาพราหมณ์ ซึ่งชาวไทยนับถือมาก่อน ต่อมาเมื่อชาวไทยยอมรับนับถือศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ พิธีกรรมในศาสนาพราหมณ์จึงเข้ามาปะปนในพุทธศาสนา (สมปราชญ์ อัมมะพันธ์, 2536 : 20) รวมถึงได้มาปะปนกับศาสนาอิสลาม ภายหลังจากที่อิสลามเข้ามาในพื้นที่ จึงได้เกิดเป็นพิธีกรรมศาสนาของอิสลามไปโดยปริยายภายหลังจากที่อิสลามเข้ามาในพื้นที่ จึงได้เกิดเป็นพิธีกรรมของชาวมุสลิมไปโดยปริยาย
กรุงเทพมหานครเป็นเมืองหลวงของประเทศไทยที่มีประชากรส่วนหนึ่งนับถือศาสนาอิสลาม การเข้ามาของศาสนาอิสลามมาจากหลายกลุ่มหลายเชื้อชาติ ส่วนหนึ่งได้มาจากแนวชีอะฮฺ ซึ่งมาจากมุสลิมชาวเปอร์เชียที่นำมาเผยแผ่ในดินแดนแห่งนี้ อีกส่วนหนึ่งมาจากแนวสุนนะฮฺ (ซุนนีย์) ที่นำมาถ่ายทอดโดยมุสลิมเชื้อสายอาหรับ ซึ่งถ่ายทอดผ่านทางกลุ่มเชื้อสายมลายูที่อาศัยอยู่ในดินแดนตอนใต้ของประเทศไทย (นิรันดร์ ขันธวิธิ, 2543 : 3)
การเข้ามาของศาสนาอิสลามในจังหวัดกรุงเทพมหานครทำให้เกิดการผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมอิสลามกับวัฒนธรรมท้องถิ่นเดิมที่มีอยู่ ตั้งแต่พิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเกิดไปจนกระทั่งพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับการตาย จึงทำให้เกิดประเพณีพิธีกรรมต่างๆ มากมายที่บิดเบือนไปจากหลักการของอิสลาม เช่น การทำอีซีกุโบ๊รหรืออัรฺวะฮฺ[5] การทำเมาลิด[6] การทำการทำบุญในวันพุธสุดท้ายของเดือนเศาะฟัร[7] อาชูรอ[8] และนิสฟูชะอฺบาน[9] ซึ่งความเชื่อและการปฏิบัติเหล่านี้บางส่วนล้วนได้รับอิทธิพลมาจากความเชื่อของศาสนาอื่นทั้งสิ้น โดยเฉพาะศาสนาพุทธและศาสนาพราหมณ์
คงไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรที่อิทธิพลจากศาสนาอื่นจะปะปนกับความเชื่อในการประกอบพิธีกรรมของชาวมุสลิมในกรุงเทพมหานครซึ่งอาจรวมถึงชาวมุสลิมในประเทศไทยทั้งหมดด้วยเช่นกัน เนื่องจากก่อนที่ศาสนาอิสลามจะเข้ามาในพื้นที่ ชาวบ้านก็มีความเชื่อต่างๆแตกต่างกันไปตามแต่ละท้องที่ เมื่ออิสลามเข้ามาก็มีการผสมผสานกันระหว่างความเชื่อเดิมกับความเชื่อของอิสลาม วิวัฒนาการมาเป็นพิธีกรรมใหม่ขึ้นมาในศาสนาที่มีความเชื่อจากอิทธิพลของศาสนาอื่น แต่รูปแบบในพิธีกรรมนั้นได้ทำให้เหมือนเป็นรูปแบบของอิสลาม โดยอาจนำเอาบทอ่านต่างๆในพิธีกรรมนั้นๆมาจากพระมหาคัมภีร์อัลกุรอาน มีถ้อยคำรำลึกถึงพระผู้เป็นเจ้าอยู่บ้าง มีการวิงวอนขอดุอาอฺต่อพระผู้เป็นเจ้าเป็นการปิดท้ายพิธีกรรมนั้นๆ และที่สำคัญในปัจจุบันนี้ต้องมีการเลี้ยงอาหารและค่าตอบแทนสำหรับคณะผู้นำในการประกอบพิธีกรรม อาจมองดูว่าเป็นธุรกิจการหาผลประโยชน์จากเรื่องศาสนาก็เป็นได้
กล่าวได้ว่าเมื่อไม่มีผู้รู้นำความจริงมาตีแผ่แก่ชาวบ้าน ก็จะทำให้ชาวบ้านโดยเฉพาะเด็กๆเยาวชนที่ซึมซับอยู่กับพิธีกรรมต่างๆอยู่เป็นประจำ เข้าใจผิดคิดว่าพิธีกรรมต่างๆเหล่านี้เป็นพิธีกรรมของศาสนาอิสลามจริง มีแบบอย่างจากท่านเราะสูล นบีนบีมุฮัมมัด r จริง ทำให้ชาวบ้านพร้อมที่จะสละทรัพย์สินมากมายในการประกอบพิธีกรรมต่างๆเหล่านี้ โดยหวังการตอบแทนจากอัลลอฮฺ์ I โดยไม่ทราบเลยว่าการกระทำต่างๆเหล่านี้จะไม่ได้รับการตอบแทนใดๆ เนื่องจากเป็นพิธีกรรมที่ไม่ได้มีแบบอย่างจากท่านเราะสูล นบีนบีมุฮัมมัด r
ท่านเราะสูล นบีนบีมุฮัมมัด r ได้กล่าวไว้มากมายถึงสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่ๆ ที่ไม่มีแบบอย่างจากท่าน ว่าได้แก่
((من أحدث في أمرنا هذا ما ليس منه فهو رد))[10]
(مسلم، 1972 : 1718)
ความว่า “ผู้ใดคิดเรื่องใดขึ้นใหม่ซึ่งไม่ได้อยู่ในกิจการของเรา เรื่องนั้นก็ถูกโยนกลับ”
(Muslim, 1972 : 1718)
((من عمل عملاً ليس عليه أمرنا فهو رد))[11]
(مسلم، 1972 : 1718)
ความว่า “บุคคลใดที่ทำการงานใดๆ โดยไม่มีแบบอย่างจากเราในงานนั้น สิ่งนั้นจะถูกโยนกลับ”
(Muslim, 1972 : 1718)

((من أحدث في أمرنا هذا ما ليس فيه فهو رد))[12]

ความว่า “ผู้ใดคิดเรื่องใดขึ้นใหม่ซึ่งไม่ได้อยู่ในกิจการของเรา กิจการนั้นก็ถูกโต้กลับ”((وإياكم ومحدثات الأمور ؛ فإن كل محدثة بدعة ، وكل بدعة ضلالة))[13]
(أبو داود، 1986 : 4607)
ความว่า “ท่านทั้งหลายจงระวังการงานใหม่ๆ[14] เพราะแท้จริงทุกๆ การงานใหม่ๆ นั้นคือบิดอฺะฮฺ และทุกๆ บิดอฺะฮฺนั้นคือการหลงผิด”
(Abu Dawud, 1986 : 4607)
((إن أصدق الحديث كتاب الله ، وأحسن الهدي هدي محمد ، وشر الأمور محدثاتها ، وكل محدثة بدعة وكل بدعة ضلالة وكل ضلالة في النار))[15]
(النسائي، 1964 : 3/188)
ความว่า “แท้จริงคำพูดที่ดีที่สุดนั้นคือคัมภีร์ของอัลลอฮฺ แบบอย่างที่ดีที่สุดนั้นคือแบบอย่างของมุฮัมมัด r การงานที่ต่ำทรามที่สุดนั้นคือการงานที่เกิดขึ้นใหม่ ทุกๆ สิ่งใหม่นั้นคือบิดอฺะฮฺ ทุกๆ บิดอฺะฮฺนั้นคือการหลงผิด และทุกๆ การหลงผิดนั้นจะอยู่ในนรก”
(al-Nasa’i, 1964 : 3/188)

พิธีกรรมของชาวมุสลิมในเขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร ที่ผู้วิจัยประสงค์จะศึกษานี้เป็นพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อ โดยผู้วิจัยได้เจาะจงถึงพิธีีกรรมที่บิดเบือนไปจากหลักการของศาสนาอิสลามทั้งสิ้น อันได้แก่ การทำอีซีกุโบ๊รหรืออัรฺวะฮฺ การทำเมาลิด การทำการทำบุญในวันพุธสุดท้ายของเดือนเศาะฟัร อาชูรอ และนิสฟูชะอฺบาน ซึ่งปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นล้วนแล้วเป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจริงของชาวมุสลิมในเขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร โดยมีการปฏิบัติกันอยู่ตลอดจนกลายเป็นเรื่องที่ทุกคนเชื่อว่าเป็นเรื่องศาสนา
กอปรกับเรื่องดังกล่าวยังไม่มีผู้ใดที่ทำการศึกษาและรวบรวมข้อมูลอย่างจริงจังในสถานที่แห่งนี้ ซึ่งเป็นสถานที่ที่มีชุมชนมุสลิมอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น ตลอดจนมีแนวทางในการนับถือศาสนาอิสลามอยู่มากมายหลายความเชื่อ ไม่ว่าจะเป็นซุนนี ชีอฺะฮฺ ซูฟี เฎาะรีเกาะฮฺและอื่นๆ
จากความเป็นมาของปัญหาที่ได้กล่าวมาข้างต้น ผู้วิจัยมีความเห็นว่า จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำการศึกษาเรื่องดังกล่าว ซึ่งจะเป็นประโยชน์สำหรับอนุชนรุ่นหลัง และผู้ที่สนใจได้ทำการศึกษาค้นคว้าต่อไป
[1] ท่านนบีมุฮัมมัด r เราะสูล หมายถึงบุคคลที่อัลลอฮ์อัลลอฮฺ I ทรงโปรดปรานคัดเลือกให้มีหน้าที่เผยแผ่ศาสนาให้แก่ประชาชาติทั้งปวงได้รู้ทั่วกัน และทรงได้ประทานคัมภีร์ ซึ่งเป็นบทบัญญัติของอัลลอฮ์อัลลอฮฺ I ส่วนนบีนั้นคือผู้ที่อัลลอฮ์อัลลอฮฺ I ทรงมอบบัญญัติของพระองค์ให้ปฏิบัติ แต่มิได้ประทานคัมภีร์ลงมาให้ ตำแหน่งเราะสูลสูงกว่าตำแหน่งนบีเพราะเราะสูลทุกคนเป็นนบีมาก่อน และนบีทุกคนหาใช่ว่าจะเป็นเราะสูลกันทุกคน นบีทั้งหมดมีจำนวนมากมายส่วนเราะสูลมีจำนวนน้อยกว่า และปรากฏชื่อในอัลกุรอานทั้งหมด 25 ท่าน เราะสูลท่านแรกคืออาดัม และท่านสุดท้ายคือนบีมุฮัมมัด r
[2] ทางนำ
[3] ความเชื่อในเรื่องเจ้าที่ที่สิงสถิตอยู่ตามต้นไม้หรือสถานที่ต่าง ๆ
[4] .
[4]
วิชาที่ว่าด้วยลัทธิ เวทมนตร์ คาถา และวิทยาคม แบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ ไสยขาว หมายถึงวิชาลึกลับใช้เวทมนในทางที่ดี เช่น ทำเครื่องรางของขลังป้องกันภัยอันตราย และไสยดำหมายถึง วิชาลึกลับใช้เวทมนในทางชั่วร้าย เช่น ทำเสน่ห์ยาแฝด ทำให้คู่รักเลิกกัน เป็นต้น
[5] การทำบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว
[6] การจัดงานเพื่อเฉลิมฉลองเนื่องในวันประสูติของท่านนบี r
[7] การทำน้ำศักดิ์สิทธิ์เพื่อรักษาและปัดเป่าภยันตรายต่างๆ
[8] การทำขนมชนิดหนึ่งเพื่อกินกัน โดยมีความเชื่อว่าเป็นการรำลึกถึงเหตุการณ์ที่ท่านนบีนูนัวะหฺและผู้ศรัทธาในยุคนั้นได้รับความปลอดภัยจากเหตุการณ์น้ำท่วม
[9] การทำพิธีกรรมโดยการอ่านส่วนหนึ่งจากอัลกุรอานในวันที่ ๑๕ 15 ชะอฺบาน แล้วมีการขอดุอาอ์ตามที่ได้กำหนดไว้
[10] หะดีษบันทึกโดย al-Bukhary, 1987 : 2697 และ Muslim, 1972 : 1718 (สำนวนที่อ้างเป็นของ Muslim), หะดีษอยู่ในระดับเศาะหี้หฺ.
[11] หะดีษบันทึกโดย Muslim, 1972 : 1718, หะดีษอยู่ในระดับเศาะหี้หฺ.
[12] หะดีษบันทึกโดย Abudawud,) บทที่ ๓๙ กิตาบุสสุนนะห์ บาบที่ ๖أخرجه بخاري (5/301) برقم 2697 ، ومسلم (2/16) واللفظ له .
[13] หะดีษบันทึกโดย Abu Dawud, 1986 : 4607 ; Ibn Majah, 1975 : 42 ; al-Tirmizi, 1983 : 2676 (สำนวนที่อ้างเป็นของAbu Dawud) , หะดีษอยู่ในระดับหะซันเศาะหี้หฺ โดย al-Albani, 1985.
[14] การงานที่อุตริกรรมขึ้นใหม่โดยถูกพาดพิงให้เป็นเรื่องศาสนา ที่ไม่มีแบบอย่างจากท่านนบี r
[15] หะดีษบันทึกโดย al-Bukhary, 1987 : 7277 ; Muslim, 1972 : 867; al-Nasa’i, 1964 : (3/188) (สำนวนที่อ้างเป็นของ al-Nasa’i) , หะดีษอยู่ในระดับเศาะหี้หฺ